7.แป้นพิมพ์ (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการนำข้อมูลลงในเครื่องคอมพิวเตอร์
มีลักษณะเป็นปุ่มตัวอักษรเหมือนปุ่มเครื่องพิมพ์ดีด เป็นอุปกรณ์รับเข้าพื้นฐานที่ต้องมีในคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง
จะรับข้อมูลจากการกดแป้นแล้วทำการเปลี่ยน เป็นรหัสเพื่อส่งต่อไปให้กับคอมพิวเตอร์
แป้นพิมพ์ที่ใช้ในการป้อนข้อมูลจะมีจำนวนตั้งแต่ 50 แป้นขึ้นไป
แผงแป้นอักขระส่วนใหญ่มีแป้นตัวเลขแยกไว้ต่างหาก เพื่อทำให้การป้อนข้อมูลตัวเลขทำได้ง่ายและสะดวกขึ้น
การวางตำแหน่งแป้นอักขระ จะเป็นไปตามมาตรฐานของระบบพิมพ์สัมผัสของเครื่องพิมพ์ดีด
ที่มีการใช้แป้นยกแคร่ (shift) เพื่อทำให้สามารถใช้พิมพ์ได้ทั้งตัวอักษร
ตัวพิมพ์ใหญ่และตัวพิมพ์เล็ก ซึ่งระบบรับรหัสตัวอักษรที่ใช้ในทางคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่จะเป็นรหัส
7 หรือ 8 บิต กล่าวคือ เมื่อมีการกดแป้นพิมพ์ แผงแป้นอักขระจะส่งรหัสขนาด 7 หรือ 8
บิต นี้เข้าไปในระบบคอมพิวเตอร์ ประเภทของ Keyboard ดูได้จากจำนวนปุ่ม
และรูปแบบการใช้งาน Key board ที่มีอยู่ปัจจุบันจะมีอยู่
5 แบบ
1. Desktop Keyboard ซึ่ง Keyboard มาตรฐาน จะเป็นชนิด 101 คีย์
2. Desktop Keyboard with hot keys เป็น Keyboard ที่มีจำนวนคีย์มากกว่า
101 คีย์ ขึ้นไปแล้วแต่วัตถุประสงค์ใช้งาน ซึ่งจะมีปุ่มพิเศษ สำหรับระบบปฏิบัติการ
Windows ตั้งแต่เวอร์ชัน 95 เป็นต้นไป
3. Wireless Keyboard ไร้สายเป็น Keyboard ที่ทำงานโดยไม่ต้องต่อสายเข้ากับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่จะมีอุปกรณ์
ที่รับสัญญาณจากตัว Keyboard อีกทีหนึ่ง
การทำงานจะใช้ความถี่วิทยุในการสื่อสาร ซึ่งความถี่ที่ใช้จะอยู่ที่ 27 MHz อุปกรณ์ชนิด นี้มักจะมาคู่กับอุปกรณ์ Mouse
ด้วย
4. Security Keyboard รูปร่างและรูปแบบการทำงานจะเหมือนกับ Keyboard แบบ Desktop แต่จะมีช่องสำหรับเสียบ
Smart Card เพื่อป้องกันการใช้งานจากผู้ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ
Keyboard ชนิดนี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการ ปลอดภัยสูง
หรือใช้ควบคุมเครื่อง Server ที่ยอมให้เฉพาะ
Admin เท่านั้นเป็นคนเปลี่ยนแปลงข้อมูล
5. Notebook Keyboard เป็น Keyboard ที่ถูกออกแบบมาให้มีขนาดบางเบา
ขนาดความกว้าง และยาวจะขึ้นอยู่กับเครื่อง Notebook ที่ใช้ปุ่มบนแป้นพิมพ์จะอยู่ติดกันและบางมาก
คีย์พิเศษต่างจะถูกลด และเพิ่มเฉพาะปุ่มที่จำ เป็นในการ Present งาน หรือ การพักเครื่องเพื่อประหยัดพลังงาน
วิธีการซ่อมKeyboard
(คีย์บอร์ด)
โดยปกติแล้วคีย์บอร์ดจะเป็นอุปกรณ์ที่ไม่ค่อยมีปัญหาเวลาใช้งานมากนัก
แต่ถ้าใช้งานไปเป็นเวลานานก็อาจจะเกิดเป็นปัญหาขึ้นได้เหมือนกัน เช่น ปุ่มคีย์บอร์ดแข็ง
กดแป้นพิมพ์ไม่ค่อยได้ บางทีกดปุ่มใช้งานคีย์บอร์ดไม่ได้เลยทั้งที่ซื้อมาใหม่ ปัญหาเหล่านี้
บางคนก็แก้ด้วยวิธีการซื้อมาเปลี่ยนใหม่เพราะราคาถูกทั้ง ๆ
ที่เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ง่ายนิดเดียว ซึ่งมักเกิดกับคีย์บอร์ดมีดังนี้
-คีย์บอร์ดแข็ง บางปุ่มกดไม่ลง คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่เราต้องทำงานด้วยมากที่สุดพอกับใช้เมาส์
โดยเมื่อใช้ไปนาน ๆ เข้าก็จะมีฝุ่นผงคราบสกปรกเข้าไปเกาะติดอยู่ พอสะสมมากเข้าจะเป็นเหตุให้ปุ่มบนคีย์บอร์ดแข็ง
กดไม่ค่อยลงเกิดปัญหาเวลาใช้งานคีย์บอร์ด เช่น พิมพ์งานเอกสารหรือโปรแกรมสเปรดชีตต่าง
ๆ สำหรับวิธีแก้ไขคือ ให้ใช้แปรงปัดฝุ่นและคราบสกปรกตามซอกปุ่มต่าง ๆ
บนตัวคีย์บอร์ดแต่ถ้าปุ่มแข็งมากให้ใช้วิธีถอดปุ่มมาทำความสะอาดดังนี้
1. ให้ใช้แปรงขนอ่อนขนาด 1 นิ้ว มาปัดฝุ่นตามซอกปุ่มจนเห็นว่าสะอาดดีแล้วให้ลองกดปุ่มดุด้วยว่ากดได้ง่ายขึ้นหรือไม่
2. หากยังไม่หาย
มีปุ่มกดบางปุ่มยังแข็งอยู่กดปุ่มไม่ค่อยได้ ก็ให้ใช้ไขควงปากแบนค่อย ๆ
งัดปุ่มออกมาทีละปุ่ม เพื่อให้มีพื้นที่ว่างมากขึ้นและใช้แปรงขนอ่อนปัดฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่ตามซอกต่าง
ๆ จนหมด หลังจากนั้นให้ใส่ปุ่มกลับเข้าที่เดิม ( แกะและทำความสะอาดทีละปุ่มจะได้ไม่งงเวลาที่ใส่กลับที่เดิม
)
-เครื่องแจ้งว่า " KEYBOARD
ERROR NO KEYBOARD PRESENT " เมื่อเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์มาทำงาน
บางครั้งจะพบกับข้อความหน้าจอไบออสแจ้งว่า " KEYBOARD ERROR
NO KEYBOARD PRESENT "หมายถึง ตรวจไม่พบคีย์บอร์ดที่ติดตั้งอยู่ สาเหตุอาจเป็นเพราะคีย์บอร์ดและเมาส์
มีลักษณะเป็นขั้วต่อแบบ PS/2 เหมือนกัน
ดังนั้นจึงอาจเสียบผิดก็ได้ การแก้ไขให้ตรวจสอบการเสียบบอร์ดที่ท้ายเคสว่าถูกต้องหรือไม่
ซึ่งขั้วต่อคีย์บอร์ดจะมีสีม่วง ส่วนขั้วต่อของเมาส์จะมีสีเขียว
ให้ถอดออกมาเสียบให้ถูกต้อง หากยังมีข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่อีกแสดงว่าคีย์บอร์ดเสีย
ให้หาซื้อมาเปลี่ยนใหม่ในราคาตัวละ 150-300 บาท
-เครื่องแจ้งว่า " KEYBOARD
CONTROLLER FAILURE " อาการดังกล่าวอาจมีสาเหตุมาจากคีย์บอร์ดเสีย
ให้ลองหาคีย์บอร์ดอื่นมาลองติดตั้งใช้งานแทน หากพบว่าคีย์บอร์ดเสียจริงให้หาซื้อมาเปลี่ยนใหม่
ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งมักเกิดจากชิปคอนโทรลคีย์บอร์ดที่อยู่บนเมนบอร์ดเสีย
หรือลายวงจรควบคุมคีย์บอร์ดแตกหรือหลุดเนื่องจากการถอดเข้า-ออกขั้วต่อคีย์บอร์ดบ่อยเกินไป เมื่อคีย์บอร์ดใช้งานไม่ได้
ผู้ใช้หลายคนจำเป็นต้องให้ช่างหาซื้อเมนบอร์ดมาเปลี่ยนใหม่ เนื่องจากการซ่อมเมนบอร์ดค่อนข้างยากจะร้านรับซ่อมไม่ค่อยได้
วิธีการดูแลรักษาKeyboard
(คีย์บอร์ด)
คีย์บอร์ด
นั้นก็เป็นแหล่งเพราะเชื้อโรคไม่แพ้เมาส์เช่นกัน
เพราะว่าเราจับอะไรแล้วไม่ล้างมือก็มาพิมพ์มันล่ะก็เลยหรือเรารับประทานขนน
ก็ตกลงไปในร่องคีย์ทำให้หมดขึ้นไปอีกมดก็ขึ้นทำให้เป็นแหล่งสะสมต่าง
ๆ วิธีทำความสะอาดก็สามารถที่จะทำได้โดยนำคีย์บอร์ดนั้นคว่ำลง
แล้วเคาะด้านหลังเพื่อที่จะให้เศษฝุ่นนั้นออกมา
ถ้าจะให้ดีสมควรที่จะหาเครื่องเป่าลมนั่นมาเป่าออก
หรืออาจจะเป็นสเปรย์ลมที่เป็นกระป๋อง
แล้วก็ฉีดตามซอกตามคีย์บอร์ดแล้วควรเลือกสเปรย์กระป๋องที่สามารถใช้ได้กลับ
ทองแดงได้ ถ้าเกิดว่าไม่สามารถที่จะนำเศษออกมาหมดได้
ก็สามารถที่จะแกะปุ่มทีละปุ่มแล้วก็นำมาทำความสะอาดด้วยการนำสำลีชุบแอลกฮอล์มาเช็ดของแต่ละปุ่ม แต่ก็ต้องวางตำแหน่งให้ถูกด้วย
เวลาใส่กลับคืนจะได้พิมพ์ถูก ส่วนคนที่ใช้โน้ตบุ๊กนั้นก็เกะมาไม่ได้ก็ค่อย ๆ ที่จะเช็ดตามซอกอย่าระมัดระวัง
ไม่ควรที่จะชุบน้ำมาเช็ดหรือถ้าใครที่จะหลีกเลี่ยงจากสิ่งสกปรกต่างก็สามารถที่จะหาซิลิโคนมาใส่เอาไปได้
ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจตั้งเปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่ต้องเสียตังค์ไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น