วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

3.ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)

3.ซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)

เป็น อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดี มีความจำเป็นต้องใช้มากสำหรับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน เนื่องจากข้อมูลหรือโปรแกรมส่วนมากจะมีขนาดใหญ่ จะต้องบันทึกไว้ในแผ่นซีดี ซึ่งสามารถเก็บข้อมูลจะแตกต่างกันออกไปตามความเร็วของซีดีรอมไดร์ฟแต่ละตัว ซีดีรอมไดร์ฟจะมีทั้งแบบติดตั้งภายในที่ติดตั้งถาวรไว้กับตัวเครื่องไม่ เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ และแบบติดตั้งภายนอกจะต่อกับตัวเครื่องโดยใช้สายสัญญาณเป็นตัวต่อเชื่อม เหมาะสำหรับการเคลื่อนย้ายบ่อย ๆ ทั้งสองแบบยังแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ IDE และ SCSI ส่วนใหญ่ IDE จะใช้สำหรับติดตั้งภายนอก และมักจะเป็น แบบอ่าน และ บันทึก

การ ทำงานของ CD-ROM ภาย ในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์ แต่เซ็กเตอร์ในซีดีรอมจะมีขนาดเท่ากันทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่ม หมุนด้วยความเร็วหลายค่า ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ที่อยู่รอบนอกหรือวงในก็ตาม จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอม โดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้ โดยการทำงานของขดลวดลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็นหลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก "แลนด์" สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก "พิต" ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับแต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่าน แท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกที ทุก ๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้

วิธีการซ่อมซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)

เป็น ได้หลายสาเหตุ เช่น แผ่นสกปรก แผ่นเป็นลอย หรือเป็นที่หัวอ่านเองก็เป็นได้ ถ้าแผ่นสกปรกก็ควรนำน้ำยาทำความสะอาดแผ่นมาเช็ด แต่ถ้าเป็นที่หัวอ่าน CD-Rom ก็พอมีวิธีอยู่บ้าง เช่นนำแผ่นล้างหัวอ่านมาทำความสะอาด หากยังไม่หายอีกก็มีอีกหนึ่งวิธีคือ วิธีการปรับหัวอ่าน CD-Rom โดยวิธีปรับหัว VR ใน Drive CD-Rom หรือที่เรียกกันว่า Variable Resist เป็นวิธีที่ใช้ได้สำหรับผู้ที่เจอปัญหาเกี่ยวกับ การอ่านแผ่นทองหรือแผ่น CD-R ได้ หรือว่าอ่านได้บ้าง ไม่ได้บ้าง แต่จะไม่รวมถึงกรณีมอเตอร์เสีย ก่อนที่จะทำการงัดแงะ CD-Rom ของคุณ อยากให้คุณดูให้แน่ใจก่อนว่าหมดประกันแล้วหรือยัง ถ้าหมดแล้วก็จะได้เต็มที่กับการซ่อม และที่สำคัญ “คุณไม่มีอะไรจะต้องเสียอีกแล้ว” เตรียมอุปกรณ์สำหรับการซ่อมให้พร้อม

1. ก่อนอื่นให้ใช้ไขควงไข เอาน็อตด้านหลังของ Drive CD-Rom ออก

2. ถอดหน้ากากที่เป็นพลาสติกของ CD-Rom ออก ส่วนนี้ไม่ต้องใช้ไขควงเพราะเขาแค่มีตำแหน่งยึดกันไว้เฉย ๆ แล้วจึงถอดฝาครอบออกตามลำดับ

3. ทีนี้ให้จับตรงบริเวณ ตัวยึดแผ่น CD ง้างขึ้น เมื่อง้างขึ้นแล้วก็ให้หาตำแหน่งของเลนซ์หรือหัวอ่าน CD ให้ดี เมื่อเจอตำแหน่งของหัวอ่าน CD แล้ว ให้มองหาชิ้นส่วนที่เป็นโลหะสีออกทองเหลือง รูปร่างลักษณะจะเป็นวงรีเล็ก ๆ สำหรับตำแหน่งที่แน่นอนบอกได้เลยว่าไม่มี เพราะ CD-Rom แต่ละยี่ห้อจะวางตำแหน่ง VR ไว้ ไม่เหมือนกัน

4. เมื่อท่านผู้อ่านหาหัวปรับ VR เจอแล้วก็ให้จัดการเอาไขควงหมุนหัวปรับ VR ไปตามเข็มนาฬิกาประมาณ 20-25 องศา

5. เมื่อหมุนเรียบร้อยแล้วอย่าพึ่งประกอบกลับเข้าไปทันทีทันใดให้ลองใส่แผ่นทองหรือแผ่นอะไรก็ได้ที่เมื่อก่อนมันไม่สามารถอ่านได้

6. จากนั้นเสียบกลับเข้าไปทั้งอย่างนั้นก่อน เพื่อความแน่ใจ ถ้าเกิดว่ายังไม่สามารถอ่านได้อีกก็ให้เอาออกมาหมุนเพิ่มประมาณ 3-5 องศา จากนั้นลองดูอีกครั้ง ถ้าอ่านได้ก็แสดงว่าคุณทำสำเร็จแล้ว คุณอาจจะได้ CD-Rom ที่คุณคิดว่ามันจากไปตลอดกาลกลับมาอีกครั้ง

วิธีการดูแลรักษาซีดีรอมไดร์ฟ (CD-ROM Drive)

ควร ทำความสะอาด CD-ROM Drive โดยหาซื้อแผ่นทำความสะอาด CD-ROM Drive โดยเฉพาะ (ลักษณะของแผ่นที่ใช้ทำความสะอาด Drive ให้กลับแผ่น CD ลง จะเป็นขนแปลงเล็ก ๆ อยู่ด้านล่าง ไว้ใช้สำหรับทำความสะอาดหัวอ่านของ CD ให้ทำความสะอาดสัก 2 - 3 รอบ จากนั้น ให้ลองเปิดแผ่น CD ที่มีปัญหา ในปัจจุบันเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ มัลติมีเดียหรือเป็นสื่อผสมซึ่งจะต้องใช้สื่อบันทึกข้อมูลที่สามารถบันทึก ข้อมูลได้มากขึ้น ซึ่งจะมีข้อมูลทั้งภาพและเสียง ดังนั้น แผ่นซีดีรอมจึงเป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เมื่อมีแผ่นซีดีรอมเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะต้องมีเครื่องผ่านแผ่นซีดีรอมที่ เรียกว่า ซีดีรอมไดร์ฟ ข้อควรระวังก็คือ ไม่ควรนำแผ่นซีดีที่เสียแล้วหรือมีรอยขีดข่วนมาก ๆ มาอ่านเพราะอาจทำให้หัวอ่านชำรุดได้ รวมถึงการใช้น้ำยาล้างหัวอ่านผิดประเภทด้วย ใช้น้ำยาทำความสะอาดสำหรับเครื่องคอมฯ เช็ด บริเวณด้านนอกโดยอาจใช้พู่กันเล็ก ๆ ช่วยในการปัดฝุ่นออกเสียก่อน จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดเช็คเครื่องคอมฯ ข้อควรระวัง! โดยปกติน้ำยาเหล่านี้ ห้ามเช็คหน้าจอ ถ้ามีฝุ่นหรือคราบนิ้วมือ ให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดก็เพียงพอแล้ว (ทิป น้ำยาทำความสะอาด โดยทั่วไป การใช้ควรใส่น้ำยาบนผ้าที่สะอาดจากนั้นลูบไปบริเวณตัวเครื่องทิ้งไว้สักพัก และค่อยเช็ดออกจะช่วยลดแรงในการขัดได้มาก)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น