วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

5.แรม (RAM) (Random Access Memory)

5.แรม (RAM) (Random Access Memory) 


หน่วยความจำหลักของคอมพิวเตอร์ มีความสำคัญมากต่อประสิทธิภาพการทำงานและความเร็วในการทำงานโดยรวมของคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่รับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมต่าง ๆ เพื่อส่งไปให้ CPU (Central Processing Unit) ซึ่งเปรียบเสมือนสมองของคอมพิวเตอร์ให้ประมวลผลข้อมูลตามต้องการ ก่อนจะแสดงผลการประมวลที่ได้ออกมาทางหน้าจอแสดงผล (Monitor) นั่นเอง RAM จะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุก ๆ ส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล โดยที่เนื้อที่ของหน่วยความจำหลักแบบแรมนี้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
1. Input Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้าโดย ข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป
2. Working Storage Area เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล
3. Output Storage Area เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออก ยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ
4. Program Storage Area เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าวหน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ไปที่ละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุม จะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตามคำสั่งนั้น

Module ของ RAM
RAM ที่เรานำมาใช้งานนั้นจะเป็น chip เป็น IC ตัวเล็ก ๆ ซึ่งส่วนที่เรานำมาใช้เป็นหน่วยความจำหลักจะถูกบัดกรีติดอยู่บนแผงวงจร หรือ Printed Circuit Board เป็น Module ซึ่งมีหลัก ๆ อยู่ 2 Module คือ SIMM กับ DIMM
SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ data path 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuit board จะให้สัญญาณ เดียวกัน
DIMM หรือ Dual In-line Memory Module โดย Module นี้เพิ่งจะกำเนิดมาไม่นานนัก มี data path ถึง 64 บิต โดยทั้งสองด้านของ circuited board จะให้สัญญาณที่ต่างกัน ตั้งแต่ CPU ตระกูล Pentium เป็นต้นมา ได้มีการออกแบบให้ใช้งานกับ data path ที่มากว่า 32 bit เพราะฉะนั้น เราจึงพบว่าเวลาจะใส่ SIMM RAM บน slot RAM จะต้องใส่เป็นคู่ ใส่โดด ๆ แผง เดียวไม่ได้
 Memory Module ปัจจุบันมีอยู่ 3 รูปแบบคือ 30-pin, 72-pin, 168-pin ที่นิยมใช้ในเวลานี้คือ 168-pin
ชนิดและความแตกต่างของ RAM
Dynamic Random Access Memory (DRAM)
     DRAM จะทำการเก็บข้อมูลในตัวเก็บประจุ (Capacitor) ซึ่งจำเป็นต้องมีการ refresh เพื่อ เก็บข้อมูล ให้คงอยู่โดยการ refresh นี้ทำให้เกิดการหน่วงเวลาขึ้นในการเข้าถึงข้อมูล และก็เนื่องจากที่มันต้อง refresh ตัวเองอยู่ตลอดเวลานี้เองจึงเป็นเหตุให้ได้ชื่อว่า Dynamic RAM
Static Random Access Memory (SRAM)
     จะต่างจาก DRAM ตรงที่ว่า DRAM ต้องทำการ refresh ข้อมูลอยู่ตลอดเวลา แต่ในขณะที่ SRAM จะเก็บข้อมูล นั้น ๆ ไว้ และจำไม่ทำการ refresh โดยอัตโนมัติ ซึ่งมันจะทำการ refresh ก็ต่อเมื่อ สั่งให้มัน refresh เท่านั้น ซึ่งข้อดีของมันก็คือความเร็ว ซึ่งเร็วกว่า DRAM ปกติมาก แต่ก็ด้วยราคาที่สูงว่ามาก จึงเป็นข้อด้อยของมัน

สัญญาณบอกเหตุ ให้รู้ว่าหน่วยความจำเสีย

สาเหตุที่ทำให้หน่วยความจำเสียหรือมีปัญหาในการทำงานก็มีด้วยกันหลาย ๆ อย่างซึ่งเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่าหน่วยความจำ 1 แผงนั้น ประกอบไปด้วยชิปหน่วยความจำหลาย ๆ ตัวรวมเข้าด้วยกัน ดังนั้นหากตัวใดตัวหนึ่งเสีย ตัวหน่วยความจำก็ยังสามารถทำงานได้ แต่อาจจะไม่ปกตินัก ปัญหานี้ก็อาจจะเกิดมาตั้งแต่ผู้ผลิตที่ผลิตหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก ๆ ย่อมมีชิปหน่วยความจำที่เกิดปัญหาบ้างซึ่งปกติผู้ผลิตจะมีการทดสอบการทำงาน ของหน่วยความจำก่อนจำหน่ายทุกครั้งอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีชิปบางตัวที่หลุดรอดออกมาในตลาดได้เช่นกัน นอกจากนี้สาเหตุที่เกิดจากผู้ใช้เองก็มีเช่นกัน ตั้งแต่เรื่องของการติดตั้งแผงหน่วยความจำไม่ถูกวิธี เช่น เสียบแผงหน่วยความจำเข้ากับสล็อตบนเมนบอร์ดไม่แน่นสนิททำให้เวลาเปิดเครื่องแล้วเกิดการลัดวงจรขึ้น รวมไปถึงการใช้พาวเวอร์ซัพพลายที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้ระบบการจ่ายไฟมีปัญหาก็ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่อหน่วยความจำได้เช่นกัน และยังมีเรื่องของการลัดวงจรจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น กระแสไฟตก ไฟเกิน เกิดกระแสไฟแรงสูงจากสายโทรศัพท์ ผ่านมายังโมเด็ม และสุดท้ายก็เป็นเรื่องของสภาวะแวดล้อมที่ไม่ค่อยดี มีฝุ่นเยอะซึ่งจะไปเกาะที่ผิวสัมผัสของหน่วยความจำทำให้เกิดการสกปรกทำให้เวลาใช้งาน เกิดปัญหาขึ้นไป ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสาเหตุให้หน่วยความจำมีปัญหาได้ทั้งสิ้น ซึ่งอย่างที่บอกว่า ความเสียหายนี้อาจจะเกิดขึ้นเฉพาะชิปหน่วยความจำตัวใดตัวหนึ่งเท่านั้น ไม่ได้เสียทั้งหมด นั่นหมายถึงเราสามารถใช้งานได้ต่อไป แต่ว่าจะพบกับปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นตามมาอยู่เรื่อยๆ และเราไม่สามารถหาสาเหตุได้ จะมีอาการต่าง ๆ เกิดขึ้นมาให้เห็นซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการดังนี้
1. เกิดจอฟ้าขึ้นระหว่างใช้งาน พร้อมข้อความแจ้งเตือนต่างๆ ซึ่งผู้ใช้ต้องรีบูตเครื่องใหม่เท่านั้น
2. เกิดจอฟ้าระหว่าการติดตั้งระบบปฏิบัติการ windows 2000 และ windows XP
3. เกิดอาการเครื่องแฮงค์ระหว่างการใช้งานโดยไม่ทราบสาเหตุ
4. เกิดอาการจอฟ้าระหว่างเปิดโปรแกรมหรือเกมส์ที่ต้องใช้หน่วยความจำเป็นจำนวนมาก เช่น เกมส์สามมิติต่าง ๆ โปรแกรมกราฟิก รวมถึงโปรแกรมสำหรับทดสอบเครื่อง
5. เกิดภาพที่แสดงออกมาผิดเพี้ยน ซึ่งสาเหตุอาจจะรวมไปถึงตัวการ์ดจอมีปัญหาได้
6. ไม่สามารถบูตเครื่องได้ ซึ่งตัวเครื่องจะส่งเสียงสัญญาณออกมาให้ทราบว่าหน่วยความจำมีปัญหา


หรือว่าจะแสดงให้เห็นบนจอภาพเช่น Memory test fail เป็นต้น

การดูแลรักษา RAM (Random Access Memory)
เพียงเราถอดแรมหรือว่าการ์ดแสดงผลออกมาแล้วหายางลบมาถู ๆ ตรงบริเวณหน้าสัมผัสที่เป็นสีทองเพื่อเป็นการลบเอาคราบฝุ่นต่าง ๆ ที่เกาะอยู่ออกไปได้โดยง่ายเลย  ส่วนนอกเหนือจากนั้นก็นำแปลงมาปัดฝุ่นตามแรมหรือว่าการ์ดแสดงผลออกไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น