วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

12.อุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ

12.หลักการทำงานอุปกรณ์ภายนอกต่างๆ



หลักการทำงานของโมเด็ม
 
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์
สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับ คอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงาน
ของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สาย ของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลง
สัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์

     คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้
อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อ โมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของ
โมเด็มแต่ละประเภทโมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้

     1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลก
เปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่าย
ในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K

     2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบ
อัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการ รับ - ส่ง
สัญญาณ

     3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการ
รับ - ส่งข้อมูลหากคุณ มีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่อง พิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่
แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้

     4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไป ระหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีก
เครื่องหนึ่ง

     5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภาย
นอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems)

     6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทร
สารด้วย ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง 
  เครื่องสแกนภาพ (Scanner)


 

 

 

 

    สแกนเนอร์ (Scanner) คืออุปกรณ์ซึ่งจับภาพและเปลี่ยนแปลงภาพจากรูปแบบของ อนาล็อกเป็นดิจิตอล ซึ่งคอมพิวเตอร์สามารถแสดง เรียบเรียง เก็บรักษาและผลิต ออกมาได้ ภาพนั่นอาจจะเป็น รูปถ่าย ข้อความ    ภาพวาด หรือแม้แต่วัตถุสามมิติ สามารถใช้สแกนเนอร์ทำงานต่างๆ  ได้ดังนี้
    • ในงานเกี่ยวกับงานศิลปะหรือภาพถ่ายในเอกสาร
    • บันทึกข้อมูลลงในเวิร์ดโปรเซสเซอร์  
    • แฟ็กเอกสาร ภายใต้ดาต้าเบส และ เวิร์ดโปรเซสเซอร์  
    • เพิ่มเติมภาพและจินตนาการต่าง ๆ ลงในในผลิตภัณฑ์สื่อโฆษณาต่าง ๆ โดยพื้นฐานการทำงานของสแกนเนอร์
   ชนิดของสแกนเนอร์ และความ สามารถในการทำงาน ของสแกนเนอร์แบ่งออกได้ดังต่อไปนี้     
                1. Flatbed scanners ซึ่งใช้สแกนภาพถ่ายหรือภาพพิมพ์ต่าง ๆ สแกนเนอร์ชนิดนี้มีพื้นผิวแก้วบนโลหะที่เป็นตัวสแกน เช่น ScanMader III
                 2. Transparency and slide scanners ScanMaker ซึ่งถูกใช้ สแกนโลหะโปร่ง เช่นฟิล์มและสไลด์ ตัวอย่างของสแกนเนอร์ชนิดนี้ เช่น ScanMaker 35t ที่ใช้สแกนเนอร์ 35 mm และ ScanMake 45t ใช้สแกนเนอร์ ฟิล์มขนาด 8"x10"การทำงานของสแกนเนอร์ การจับภาพ ของสแกนเนอร์ ทำโดย ฉายแสงบนเอกสารที่จะสแกน แสงจะผ่านกลับไปมาและภาพจะถูกจับโดยเซลล์ ที่ไว ต่อแสง เรียกว่า Charge-couple device หรือ CCD ซึ่งโดยปกติพื้นที่มืดบน กระดาษจะสะท้อนแสง ได้น้อยและพื้นที่ที่สว่างบนกระดาษจะสะท้อนแสง ได้มาก กว่า CCD จะ สืบหาปริมาณแสงที่สะท้อนกลับจากแต่ละพื้นที่ของภาพนั้น และ เปลี่ยนคลื่นของแสง ที่สะท้อนกลับมาเป็นข้อมูลดิจิตอลหลังจากนั้นซอฟต์แวร์ ที่ใช้สำหรับการสแกนภาพก็จะแปลงสัญญาณเหล่านั่นกลับมาเป็นภาพบนคอมพิวเตอร์ อีกทีหนึ่ง  

หลักการทำงานของระบบ USB


 จะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ต่อพ่วงทาง Port USB แล้วจะกำหนด Address ให้แต่ละอุปกรณ์ เรียกว่า กระบวนการ "Enumeration" หรือเมื่อเราทำการ Plug อุปกรณ์เข้าไปยัง Port USB ระบบก็จะทำการตรวจสอบด้วยกระบวนการ "Enumeration" ทันที เพื่อตรวจสอบชนิดของข้อมูลที่จะทำการรับ หรือจัดส่งให้กับอุปกรณ์ที่ต่อพ่วงเข้ามา ซึ่งแบ่งชนิดของข้อมูลได้เป็น 3 แบบ คือ

1.Interrupt - เสมือนเป็นการตอดรบกวน โดยส่งข้อมูลทีละน้อยๆ เช่น อุปกรณ์จำพวก Mouse หรือ Keyboard หรือ GamePad ต่างๆ จะทำการส่งข้อมูลให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์คราวละเล็กน้อยเท่านั้น และจะส่งแบบไม่ต่อเนื่อง ตามแต่ลักษณะการใช้งาน

2.Bulk - หรือการส่งข้อมูลคราวละมากๆ เป็นก้อนๆ เช่นการพิมพ์งาน ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ จะส่งข้อมูลให้กับเครื่องพิมพ์คราวละมากๆ เป็นต้น ซึ่งระบบจะทำการตรวจสอบข้อมูลทั้งความถูกต้อง และความครบถ้วนด้วย

3.Isochronous - หรือการส่งข้อมูลแบบต่อเนื่อง เป็น Stream เช่น พวก Speaker หรือ WebCam ที่จะมาการส่งข้อมูลอย่างต่อเนื่องแบบ Real-Time ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Host กับอุปกรณ์ต่อพ่วง ซึ่งใน Mode นี้จะไม่มีการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ว่าได้รับครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ Host นั้นจะส่งคำสั่ง หรือ query (ซักคำถาม) ไปยังอุปกรณ์ ผ่านทาง "Control Packet" โดยเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น จะทำการกันเนื้อที่ 90% ของ Bandwidth ทั้งหมด (speed USB 1.1 ที่ 12 Mbps และ USB 2.0 ที่ 480 Mbps )
สำหรับใช้งานการส่งข้อมูลแบบ Isochronous หากมีการใช้งานถึง 90% เมื่อไร ระบบก็จะทำการปฏิเสธการร้องขอในแบบ Interrupt และ Isochronous ที่เข้ามาใหม่ทันที โดย 10% ที่กันไว้นั้น จะไว้ใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Bulk และสำหรับ Control Packet ของ Host นั่นเอง

สาย USB เมื่อทำการผ่าดูข้างในจะประกอบไปด้วยฝอยเหล็กที่ทำการกันการรบกวนของสนามแม่ เหล็ก ชั้นต่อมาจะมีสายไฟจำนวน 4 เส้นดังนี้
1. สายสีแดง เพื่อใช้ในการจ่ายไฟ VCC(+5V)
2. สายสีดำ เพื่อใช้เป็นสายดิน(GND)
3. สายสีเขียว เพื่อใช้เป็นสายข้อมูลขั้วบวก(D+)
4. สายสีขาว เพื่อใช้เป้นสายข้อมูลขั้วลบ(D-)

หลักการทำงานของลำโพง


เมื่อ กรวยของลำโพงมีการเคลื่อนที่(ดูดเข้า-ผลักออก) มวลอากาศที่อยู่โดยรอบบริเวณด้านหน้ากรวย จะถูกบีบอัดและคลายตัวเป็นจังหวะที่สอดคล้องกัน ทำให้เกิดคลื่นอากาศที่เรียกกันว่า”คลื่นเสียง”(sound wave) การบีบอัดและคลายตัวของมวลอากาศนี่เอง ที่ทำหน้าที่เป็นเสมือนผู้นำสารที่เป็นเสียงจาก ลำโพงไปสู่หูคนฟัง ลำโพงส่วนใหญ่จะทำการแปรเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าไปสู่พลังงานเสียง ซึ่งทำให้เกิดเป็นจริงเป็นจังได้โดยการออกแบบส่วนที่เรียกว่ากลุ่มขดลวดเคลื่อนตัว”(moving coil) สัญญาณไฟฟ้าจะไหลผ่านเส้นลวดที่อยู่รอบๆกลุ่มขดลวด และกลุ่มขดลวดนั้นถูกติดตั้งเอาไว้ในสนามแม่เหล็กอีกทีหนึ่ง กระแส สลับที่ไหลผ่านเข้าไปในสนามแม่เหล็ก เกิดปฎิกริยาทำให้กลุ่มขดลวดมีการเคลื่อนที่ มีผลให้กรวย(หรือไดอาแฟรม)มีการขยับตัวตามไปด้วย ในลักษณะของการผลักไปด้านหน้าและดึงกลับมาด้านหลังสลับไป-มาจนทำให้เกิดเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น