5.การทำงานของ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
เป็น อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่มีโครงสร้างคล้ายกับดิสเก็ตต์
แต่จุข้อมูลมากกว่าและมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า
ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเก็บตัว
โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( operating system ) รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ
ฮาร์ดดิสก์ ผลิตมาจากวัสดุแบบแข็งจำนวนหลายแผ่นวางเรียงต่อกันเป็นชั้น
จานแม่เหล็กแต่ละจาน เรียกว่า แพลตเตอร์ ( platter )
ซึ่งอาจจะมีจำนวนต่างกันได้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่น
โครงสร้างฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปมีส่วนประกอบดังนี้
ชื่อส่วนประกอบ
|
คำอธิบาย
|
platter
track
sector
cylinder
read/write
head
|
ส่วนของจานแม่เหล็กแต่ละจานบนฮาร์ดดิสก์ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองด้าน
พื้นที่ตามแนวเส้นรอบวงบนแพลตเตอร์นั้น
ส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกเป็นท่อนเหมือนกับดิสเก็ตต์
แทรกที่อยู่ตรงกันของแต่ละแพลตเตอร์
(แต่ละจาน)
หัวสำหรับอ่าน/เขียนข้อมูลบนแพลตเตอร์
|
โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์
การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น
ตัวแผ่นจานจะหมุนเร็วมาก (หลายพันถึงกว่าหมื่นรอบ
ต่อนาที)
โดยที่หัวอ่าน/เขียน
ซึ่งเป็นอุปกรณ์แม่เหล็กจะลอยเหนือแผ่นแพลตเตอร์ทั้งสองด้านในระยะห่างที่
เล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์
การทำงานจะอาศัยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก
โดยที่หัวอ่าน/เขียน จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับผิวของแพลตเตอร์แต่อย่างใด
เพื่อป้องกันการกระทบกับผิวของแพลตเตอร์
ซึ่งจะทำให้ข้อมูลบนแผ่นเสียหายได้ปัจจุบันมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ออกมาจำหน่าย หลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งแต่เดิมมีความจุไม่มากเท่าไร แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้การจัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์มีขนาดความจุที่มากขึ้นในระดับหลายร้อย กิกะไบต์ (ซึ่งมากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์นับแสนเท่า) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก
ซึ่งสามารถรองรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือไฟล์ประเภทมัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น ไฟล์ภาพยนตร์ วิดีโอ เสียงเพลง ภาพกราฟิก ได้อย่างเพียงพอการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งาน อาจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความจุข้อมูลที่มากเกินความจำเป็นก็ได้ แต่ควรคำนึงถึงรูปแบบการทำงานเป็นหลักว่า มีความต้องการบันทึกข้อมูลประเภทใด และฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่นั้นเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากไม่พอก็สามารถหาหรือเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์แบบถอดได้มาเพิ่มเติม สรุปข้อแตกต่างระหว่างดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์
ซึ่งจะทำให้ข้อมูลบนแผ่นเสียหายได้ปัจจุบันมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ออกมาจำหน่าย หลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งแต่เดิมมีความจุไม่มากเท่าไร แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้การจัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์มีขนาดความจุที่มากขึ้นในระดับหลายร้อย กิกะไบต์ (ซึ่งมากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์นับแสนเท่า) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก
ซึ่งสามารถรองรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือไฟล์ประเภทมัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น ไฟล์ภาพยนตร์ วิดีโอ เสียงเพลง ภาพกราฟิก ได้อย่างเพียงพอการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งาน อาจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความจุข้อมูลที่มากเกินความจำเป็นก็ได้ แต่ควรคำนึงถึงรูปแบบการทำงานเป็นหลักว่า มีความต้องการบันทึกข้อมูลประเภทใด และฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่นั้นเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากไม่พอก็สามารถหาหรือเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์แบบถอดได้มาเพิ่มเติม สรุปข้อแตกต่างระหว่างดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์
คุณสมบัติ
|
ดิสเก็ตต์
|
ฮาร์ดดิสก์
|
ความจุข้อมูล
|
เก็บข้อมูลได้น้อย
เนื่องจากกลไกอ่านเขียนก็มีความแม่นยำไม่สูงนัก
ทั้งที่พื้นที่ไม่จากฮาร์ดดิสก์มากนัก ทำให้แบ่งแทรคและ
เซกเตอร์ได้ไม่ละเอียด |
เก็บ
ข้อมูลได้มาก
และกลไกที่อ่านเขียนก็จะมีความแม่นยำสูงมาก
และใช้การเข้ารหัสสัญญาณที่ซับซ้อน
ทำให้จัดแบ่งแทรคและเซกเตอร์ที่จะใช้เก็บบันทึกข้อมูลได้มาก
|
ราคา
|
ค่อนข้างถูก
เพราะผลิตจำวัสดุพลาสติกชนิดอ่อนและกลไกก็มีความเร็วต่ำ
ซึ่งจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า อีกทั้งตัวแผ่นยังถอดเปลี่ยนได้
|
ค่อนข้างสูง
เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตประกอบด้วยวัสดุเหล็กชนิดแข็ง และกลไกอื่น ๆ
ก็เป็นแบบความเร็วสูงตามไปด้วย
|
หัวอ่านข้อมูล
|
สัมผัสกับแผ่นจานทุกครั้งที่อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่น
จึงมีความสึกหรอมากกว่าทั้งแผ่นและหัวอ่าน
|
ไม่สัมผัสกับแผ่นจาน
จึงไม่สึกหรอเท่ากับดิสเก็ตต์แต่จะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน
โดยมีช่วงห่างที่เล็กมากจนแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
|
การเข้าถึงข้อมูล
|
ทำได้ช้า
|
หัวอ่านทำงานเร็ว
และแผ่นก็หมุนเร็วมาก ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น