6.การทำงานของแป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลเพื่อสั่งให้หน่วยประมวลผลกลาง
(CPU) ดำเนินการและแสดงผลออกทางจอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้าย ๆ
กับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด กล่าวคือ
มีแต่ละแป้นพิมพ์ตัวอักษรแถวบนหรือแถวล่างได้ แต่แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประมาณ
101-104 แป้น แป้นพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นมาทำหน้าที่ต่าง ๆกัน
แบ่งกลุ่มแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ออกได้เป็น
3 กลุ่มคือ
กลุ่มแป้นพิมพ์ที่ใช้แสดงหน้าที่พิเศษ
หรืออาจเรียกว่า เป็นกลุ่ม Function Key มีตัวอักษร F1 - F12 กำกับ
สำหรับเขียนแทนด้วยคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่กับโปรแกรม
กลุ่มแป้นพิมพ์ทีใช้พิมพ์จำนวนเลข
หรือเรียกว่า Numeric Key พิมพ์เลข 1
- 0 และเครื่องหมาย + -
นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแป้นพิมพ์ที่มีไว้เพื่อเป็นแป้นพิมพ์คำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน
ได้แก่
Enter เป็นแป้นที่กดเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับคำสั่งไปปฏิบัติตามที่ต้องการ
แป้นนี้เดิมชื่อ Carriage Return เปลี่ยนมาเป็น Enter
ในยุคของเครื่องพีซี มีทั้งในแป้นตัวอักษรและแป้นตัวเลข
ใช้ได้กับกดเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่
Escape กดเพื่อยกเลิกการทำงานเดิมหรือจบการเล่นเกม
การกดแป้นจะยกเลิกคำสั่งที่กำลังใช้งานย้อนกลับไปที่คำสั่งก่อนหน้า
Tiled สำหรับกดเปลี่ยนไปมาระหว่าภาษาไทยกับกาษาอังกฤษ
Caps Lock สำหรับยกแคร่ค้างไว้เพื่อพิมพ์อักษรแบบตัวพิมพ์ใหญ่
เมื่อกดแป้นนี้ ไฟบอกสภาวะ ทางขวามือจะติด ดังนั้น ถ้าการพิมพ์อักษรมีปัญหา
ให้ดูว่าแป้นนี้ถูกกดค้างไว้หรือไม่
Shift แป้นยกแคร่ กดค้างไว้แล้วพิมพ์
ถ้าแป้นพิมพ์อักษรที่มีสองตัวบนล่างกดแป้นนี้เพื่อพิมพ์ตัวอักษรบน
ถ้าเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่มีตัวเดียว กดเพื่อพิมพ์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่
Ctrl แป้นควบคุมกดค้างไว้แล้วกดอักษรตัวอื่นเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง
เช่น Ctrl+Alt+Delete เป็นการรีเซ็ทเครื่องใหม่, Ctrl
+ B ทำตัวอักษรหนา เป็นต้น
Tab ใช้กด
เพื่อเลื่อน 1 ย่อหน้า
Space bar ใช้กดเพื่อเว้นวรรค
Alternate กดคู่กับแป้นอื่น ๆ
เพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น Alt+X คือจบเกม Ctrl
+ Alt + Delete รีเซ็ทเครื่องเหมือนการกดปุ่ม
Reset
Backspace แป้นเลื่อนถอยหลัง
กดเพื่อย้อนกลับไปทางซ้ายสำหรับพิมพ์ และลบตัวอักษรทางซ้ายทีเลื่อนไปแป้นควบคุม
เป็นแป้นลูกศรชี้ไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง สำหรับควบคุมการเลื่อนตำแหน่งไปมาบนจอภาพ
Insert แทรกอักษร
กดเพื่อกำหนดสภาวะพิมพ์แทรก หรือพิมพ์ทับ การทำงานปกติเป็นการพิมพ์แทรก
Delete กดเพื่อลบอักษรที่ Cursor
ทับอยู่ หรือลบตัวที่อยู่ทางขวาของจุดแทรก (Cursor) เมื่อลบแล้วจะดึงอักษรทางขวามือมาแทนที่
Home กดเพื่อเลื่อนการทำงานไปยังตำแหน่งแรกของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่
End กดเพื่อกระโดดไปยังอักษรตัวสุดท้ายทางขวาของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่
Page Up กดเพื่อเลื่อนจอภาพขึ้นไปดูข้อความด้านบน
Page Down กดเพื่อจอภาพลงไปด้านล่าง
Num Lock กดเพื่อใช้แป้นตัวเลขทางขวา เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด ถ้าไม่เปิด แป้น Num
Lock เป็นการใช้แป้นอักขระตัวล่างที่อยู่ในแป้นตัวเลข
Print Screen กดเพื่อพิมพ์ข้อความที่เห็นบนจอภาพออกทางเครื่องพิมพ์
Scroll Lock กดเพื่อล็อกบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานไม่ให้เลื่อนบรรทัด ถึงแม้จะกดแป้น Enter
ก็ไม่มีผล เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด
Break หรือ Pause
กดเพื่อหยุดการทำงานชั่วคราวยกเลิกโดยกดแป้นอื่น ๆ อีกครั้ง
แป้นคำสั่งคำนวณ
^ Caret
อยู่เหนือเลข 6 ต้องกดปุ่ม Shitf ค้างไว้แล้วพิมพ์
หมายถึงการยกกำลัง
* Asterisk หมายถึง การคูณ
ใช้เครื่องหมายนี้เพื่อให้แตกต่างกับอักษร x
/ Slash หมายถึง การหาร ถ้าไม่ใช่การคำนวณ หมายถึงขีดทับ
ต้องใส่สัญลักษณ์นำเพื่อให้ คอมพิวเตอร์รับเป็นค่าตัวอักษรในโปรแกรมตารางคำนวณ
แป้นอื่น ๆ
@ At sign เครื่องหมาย at หมายถึง จำนวนหน่วยทางบัญชี
และเป็นตัวกำหนดตำแหน่งสำหรับเขียนโปรแกรมในโปรแกรมตระกูลฐานข้อมูลต่าง ๆ
# Number sign เครื่องหมายนัมเบอร์สำหรับกำกับตัวเลขบอกลำดับที่ทางคณิตศาสตร์
หมายถึงไม่ทับ
& Dollar sign เครื่องหมายเงินดอลลาร์
หรือ เป็น String สำหรับควบคุมตัวแปรประเภทตัวอักษรในภาษาเบสิก
&
Ampersand เครื่องหมายเชื่อมคำ เช่น A&B
การทำงานของคีย์บอร์ดจะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่มให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์โดยสัญญาณดังกล่าว
จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์
(microprocessor) ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ดและสัญญาณต่าง
ๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อของแป้นพิมพ์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. 5-pin
DIN (Deustche Industrie Norm) connector เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่
ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก
2. 6-pin
IBM PS/2 mini-DIN connector เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก
ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย
3. 4-pin
USB (Universal Serial Bus) connector เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่
4. internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน
พบได้ใน Notebook Computer
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น