13.การทำงานของเคส
คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภาย ในการเรียกชื่อและขนาดของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกันแล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสมของงานและสถานที่นั้น
CASE หมายถึง ตัวถังซึ่งเป็นที่รวบรวมของอุปกรณ์ต่าง
ๆ ในหน่วยประมวลผล ปัจจุบันนิยมใช้ CASE แบบ ATX ซึ่ง
มีราคาถูกลงมากและมีสีสรรให้ผู้บริโภคได้เลือกมากมาย
เคส (Case)
อย่างที่รู้จักกันดีอยู่แล้วว่า เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่างๆ
ของ คอมพิวเตอร์ไว้ภายในซึ่งปัจจุบันนี้ เคส ที่นิยมใช้กันอยู่มีอยู่ด้วยกัน 5 แบบ
คือ
- Full Power
- Medium Tower
- Mini Tower
- Desktop
- Slimline
เคส Full Power จะมีรูปร่างที่สูงที่สุดในบรรดาแบบ Tower และเคส
แบบ Medium Mini ก็จะมีรูปร่างเล็กตามลำดับ
โดยเคสชนิดนี้จะมีลักษณะสูงขึ้นไปด้านบนแต่เคส แบบ Desktop และ Slimline จะมีลักษณะราบตามแนวนอนสามารถวางจอภาพบนเคสชนิดนี้ได้
ทำให้คุณสามารถประหยัดเนื้อที่ในการวางจอภาพไปได้เป็นอย่างมาก
แต่ข้อเสียคือถ้าจะต้องเปิดฝาเคส เพื่อจะทำการใด ๆ
ภายในเคสจะต้องยกจอภาพออกมาก่อนจึงเปิดได้
เคสที่มีขนาดใหญ่จะมีข้อดีตรงที่สามารถเพิ่มอุปกรณ์ให้กับระบบได้มากกว่า เช่น
อาจจะเพิ่มฮาร์ดดิสก์ตัวที่ 2 หรือ 3 เพิ่มซีดีรอมไดรว์
ตัวที่สองหรืออุปกรณ์เก็บข้อมูลอื่น ๆ
เคส (case) ถ้ามองจากด้านหน้าจะเห็นได้ว่าส่วนผู้ใช้จะใช้งานได้เพียงแค่ปุ่มสวิทช์ไม่กี่อัน
ซึ่งปุ่มที่สำคัญคือ ปุ่มเปิด / ปิด เครื่อง (on /off หรือ power) ซึ่งมักจะเป็นปุ่มที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
เพื่อสะดวกในการใช้งานบางเครื่องจะมีปุ่มนี้เพียงปุ่มเดียวเท่านั้นที่อยู่บนเครื่อง
แต่บางเครื่องจะมีปุ่มที่เล็ก ๆ ที่กำกับไว้ด้วย คำว่า reset เพื่อ
ใช้แทนการเปิดปิดเครื่องใหม่โดยไม่มีการปิดเครื่องซึ่งเป็นเพียงแต่ควบคุม
การทำงานของซีพียูให้กลับไปเริ่มต้นใหม่เหมือนเพิ่งเปิดเครื่องเท่านั้น
ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าอาจจะมีปุ่มที่เขียนว่า turbo ซึ่งโดยปกติจะเป็น on แต่ถ้ากดซ้ำให้ off ก็จะเป็นการลดเครื่องเร็วของเครื่องลง เนื่องจากซอฟต์แวร์สมัยก่อนบางตัวอาจไม่สามารถทำงานได้ถูกต้อง ซึ่งตัวเครื่องใหม่รุ่นปัจจุบันไม่มีเรื่องแบบนี้อีกแล้ว ส่วนปุ่มที่เห็นได้ก็จะเป็นปุ่มของอุปกรณ์ในเครื่องซึ่งได้แก่ ดิสเก็ต (diskette หรือ floppy disk) และซีดีรอม (cd-rom) ซึ่งสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลจริง ๆ ไม่ได้ติดมากับตัวเรื่องแต่ปุ่มเหล่านี้จะใช้สำหรับนำแผ่นดิสก์หรือซีดีออกจากไดร์ฟเหล่านั้น
ถ้าเป็นเครื่องรุ่นเก่าอาจจะมีปุ่มที่เขียนว่า turbo ซึ่งโดยปกติจะเป็น on แต่ถ้ากดซ้ำให้ off ก็จะเป็นการลดเครื่องเร็วของเครื่องลง เนื่องจากซอฟต์แวร์สมัยก่อนบางตัวอาจไม่สามารถทำงานได้ถูกต้อง ซึ่งตัวเครื่องใหม่รุ่นปัจจุบันไม่มีเรื่องแบบนี้อีกแล้ว ส่วนปุ่มที่เห็นได้ก็จะเป็นปุ่มของอุปกรณ์ในเครื่องซึ่งได้แก่ ดิสเก็ต (diskette หรือ floppy disk) และซีดีรอม (cd-rom) ซึ่งสื่อที่ใช้บันทึกข้อมูลจริง ๆ ไม่ได้ติดมากับตัวเรื่องแต่ปุ่มเหล่านี้จะใช้สำหรับนำแผ่นดิสก์หรือซีดีออกจากไดร์ฟเหล่านั้น
นอกจากนี้ด้านหน้าส่วนใหญ่อีกสองถึงสามดวง คือ ดวงที่จะติดสว่างอยู่ตลอดเวลาที่เปิดเครื่องเพื่อแสดงว่าขณะนี้กำลังเปิดเครื่องอยู่ส่วนดวงไฟอีกดวงจะกระพริบเป็นบางครั้ง ก็คือไฟที่แสดงว่ากำลังมีการใช้งานฮาร์ดดิสก์อยู่ ซึ่งอยู่จะเป็นการอ่านหรือเขียนก็แล้วแต่ส่วนอีกดวงหนึ่งในปัจจุบันก็ไม่ค่อยเห็นกันแล้วก็คือไฟของปุ่ม turbo
ส่วนด้านหลังของเครื่องจะเห็นช่องเสียบสายต่อต่าง ๆ จำนวนมากที่เครื่องพีซีได้เตรียมไว้สำหรับการใช้งานหลากหลาย ได้แก่ คีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ ช่องต่อโมเด็ม (หรือที่เรียกว่า พอร์ตอนุกรม - serial port) ช่องต่อเครื่องพิมพ์ (หรือที่เรียกว่าพอร์ตขนาน - parallel port) พอร์ต USB พอร์ตเกมสำหรับต่อ จอยสติ๊ก และอาจจะมีช่องเสียบของลำโพง ไมโครโฟน สายเสียบโทรศัพท์ สายเน็ตเวิร์ก รวมทั้งช่องเสียบสายไฟเลี้ยงตัวเครื่องที่ต้องนำไปเสียบเข้ากับปลั๊กไฟในบ้านหรืออื่น ๆ อีกมากมายตามแต่ว่าเครื่องนั้นมีอุปกรณ์อะไรติดตั้งอยู่บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น