วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

1.การทำงานของดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)

1.การทำงานของดิสก์ไดร์ฟ (Disk Drive)
 

กลไกการทำงานของดิสก์ไดร์ฟจะค่อนข้างง่ายเมื่อเทียบกับฮาร์ดดิสก์ โดยตัวจานหมุนจะเป็นวัสดุที่อ่อนนิ่ม เช่น ไมลาร์(Mylar) ที่ เป็นพลาสติกสังเคราะห์เคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ ในดิสก์ 1 แผ่นจะมีจานเดียว หัวอ่านจะเลื่อนเข้าไปอ่านข้อมูล เริ่มแรกสามารถอ่านข้อมูลได้เพียงด้านเดียว ต่อมามีการพัฒนาให้สามารถอ่านข้อมูลได้ทั้ง 2 ด้าน เรียกว่า Double-sided  หัว อ่านจะสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้ต้องใช้ความเร็วหมุนจานที่ต่ำ คือประมาณ 300 รอบต่อนาทีเท่านั้น (เทียบกับ 7200 รอบต่อนาทีที่เป็นมาตรฐานของฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบัน) และเนื่องจากหัวอ่านสัมผัสกับแผ่นดิสก์โดยตรง ทำให้แผ่นมีการสึกหรอได้ง่าย เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลจะมีการส่งสัญญาณไปเปลี่ยนแปลงค่าสนามแม่เหล็ก ที่หัวอ่าน
ความจุของฟล็อปปี้ดิสก์แบบต่าง ๆ
ขนาด
แบบ
ด้านที่บันทึก
ความจุข้อมูล
5.25 นิ้ว
Single sided-Double Density
1
160/180 KB
 
Double sided-Double Density
2
320/360 KB
 
HD(High Density)
2
1.2 MB
3.5 นิ้ว
Double sided-Single Density
2
720 KB
 
Double sided-High Density
2
1.44 MB
 
Double sided-Quad Density
2
2.88 MB
3.5 นิ้ว
Floptical Disk
2
120 MB
........เมื่อ ตัวไดรว์ของดิสก์อ่านข้อมูลได้แล้วจะทำการส่งต่อให้กับคอนโทรลเลอร์ควบคุม แบบอนุกรม(ทีละบิตต่อเนื่องกัน ต่างกับฮาร์ดดิสก์ที่ส่งแบบขนาน ทำให้ส่งข้อมูลได้ช้ามาก อัตราการส่งข้อมูลจะอยู่ในช่วง 0.5-1 เมกะไบต์ต่อวินาที ส่วนความเร็วในการค้นหาข้อมูลตกประมาณ 60-200 Millisecond) โดยส่งต่อข้อมูลให้ซีพียูด้วยการทำ DMA (Direct Memory Access) ขณะที่ฟล็อปปี้ไดรว์ทำงาน อุปกรณ์อื่น ๆ ต้องหยุดรอ ทำให้การทำงานของระบบเกือบจะหยุดชะงักไป ที่มุมด้านหนึ่งของฟล็อปปี้ดิสก์จะมีกลไกป้องกันการเขียนทับข้อมูล (write-protect) หาก เป็นแผ่น 5.25 นิ้ว จะเป็นรอยบากซึ่งหากปิดรอยนี้จะไม่สามารถเขียนข้อมูลได้ ต่างกับ ดิสก์ 3.5 นิ้ว ที่จะเป็นสลักพลาสติกเลื่อนไปมา หากเลื่อนเปิดเป็นช่องจะบันทึกไม่ได้
Floptical Disk
......เป็นการนำเทคโนโลยีด้านแสงเข้ามาช่วยในการบันทึกข้อมูล แต่ไม่ได้ใช้แสงโดยตรง ลักษณะ Floptical disk จะ มีรูปร่างเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ขนาด 3.5 นิ้วทุกประการ แต่มีความจุมากขึ้นเป็น 120 เมกะไบต์ทีเดียว และตัวไดรว์ยังใช้อ่านเขียนข้อมูลแผ่นดิสก์ธรรมดาได้ด้วย  ชื่อทางการค้าของ Floptical Drive ที่เป็นที่รู้จักกันได้แก่ SuperDisk จากบริษัท Imation
......หลักการของ Floptical Drive อาศัยการบันทึกข้อมูลด้วยสนามแม่เหล็กเหมือนฟล็อปปี้ดิสก์ธรรมดา แต่ใช้กลไกการอ่านที่เรียกว่า optical servo (หรือบางทีเรียกว่า Laser servo)หรือ วงจรเลื่อนตำแหน่งหัวอ่านควบคุมด้วยแสง ทำให้สามารถเลื่อนหัวอ่าน/เขียนได้ตรงกับแทรคที่มีความหนาแน่นกว่าดิสเก็ต ธรรมดามาก เช่น ในดิสก์ธรรมดามี 80 แทรค 2480 sector แต่ใน Floptical disk จะมี ถึง 1,736 แทรค 245,760 sector ทำให้ได้ความจุรวมถึง 120 เมกะไบต์ต่อแผ่น Floptical disk หมุนด้วยความเร็ว 720 รอบต่อนาที และมีอัตรารับส่งข้อมูล ประมาณ 3.2-5.4 เมกะบิตต่อวินาที

ZIP drive ของ Iomega                                                              







Jazz drive

......นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีคล้ายกัน แต่รูปแบบต่างกันไป เช่น Zip Drive จาก Iomega ที่ออกมาก่อน Superdisk แต่ได้รับความนิยมมากพอสมควร Zip Drive มีทั้งรุ่นที่ต่อกับ Parallel port,USB port และแบบ SCSI และได้เพิ่มความจุจาก 100 เป็น 250 เมกะไบต์ Iomega ยังได้ผลิต Jaz Drive ที่มีลักษณะเหมือนฮาร์ดดิสก์ถอดได้ โดยจะมีตัวไดรว์เป็นระบบ SCSI เท่านั้น และมีแผ่นบรรจุข้อมูลขนาด 1 GB และ 2 GB นิยมใช้สำหรับการสำรองข้อมูลย้ายไปมา เนื่องจากมีความเร็วน้อยกว่าฮาร์ดดิสก์ และยังมีราคาแพงกว่า Zip หรือ Superdisk มาก


ดิสก์ไดรฟ์

เครื่องขับดิสก์หรือฟลอปปี้ดิสก์ไดร์ฟ (Floppy Disk Drive: FDD) คืออุปกรณ์ขับเคลื่อนแผ่นดิสก์ที่ใช้สำหรับอ่าน บันทึกข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์  ฟลอปปี้ดิสก์ไดร์ฟตัวแรก พัฒนาโดย นาย Alan Shugart บริษัทไอบีเอ็มในปี ค.ศ.1967 เป็นดิสก์ไดร์ฟสำหรับแผ่นบันทึกข้อมูลขนาด 8 นิ้ว (แผ่นดิสก์ - Diskette 8") จากนั้นมีการพัฒนาขนาดเล็กลงมา เพื่อสนับสนุนดิสก์ขนาด 5.25 นิ้ว และ 3.5 นิ้วในปัจจุบันแทบจะไม่พบดิสก์ 5.25 นิ้ว เลย ที่ยังคงมีให้เห็นอยู่บ้าง คือ ฟลอปปี้ดิสก์ไดร์ฟ ขนาด 3.5 นิ้ว
Floppy disk drive คือเครื่องอ่านและบันทึกข้อมูลลงในแผ่น Floppy Disk ซึ่งมีความจุ ๑.๔ MB โดยแผ่น Diskนี้จะประกอบด้วยแผ่นพลาสติกบางๆเคลือบสารแม่เหล็กเอาไว้ และอ่าน/เขียนโดยใช้หัวอ่าน-เขียนแบบแม่เหล็ก ข้อระวังในการใช้แผ่น Floppy disk คือ
๑.ขณะไฟที่ Floppy disk drive ยังไม่ดับอย่าเพิ่งกดปุ่มเพื่อเอาแผ่น disk ออก
๒.อย่าเปิดแผ่นกันฝุ่นเล่น จะทำให้ฝุ่นเข้า
๓.อย่าให้โดนความร้อนและใกล้แม่เหล็ก
๔.อย่าเขียนข้อความลงในแผ่นฉลากของ disk ในขณะที่แปะแล้ว
๕.แผ่น disk ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลไม่ควรใช้เก็บข้อมูล เพราะมันเสียง่าย

2.การทำงานของซีดีรอม (CD-ROM)

2.การทำงานของซีดีรอม (CD-ROM)




ซีดีรอมไดร์ฟ  (CD-ROM Drive)  หรือเครื่องขับคอมแพคดิสก์เป็นไดร์ฟที่ใช้สำหรับอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีรอมเพียงอย่างเดียว  ส่วนใหญ่จะใช้งานในด้านการติดตั้งระบบปฏิบัติการหรือโปรแกรมต่าง ๆ รวมไปถึงงานที่เกี่ยวกับความบันเทิง เช่น  ดูหนัง  ฟังเพลง  และงานด้านมัลติมีเดียด้วย  โดยมีหน่วยความเร็วในการอ่านข้อมูลเป็น X   เช่น 48X  50X  หรือ 52X เป็นต้น ในปัจจุบันแทบจะเรียกได้ว่าคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีไดร์ฟซีดีรอมอย่างน้อยหนึ่งไดร์ฟเสมอ  ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐานของเครื่องคอมพิวเตอร์ในตอนนี้แล้ว 

 
ภาย ในซีดีรอมจะแบ่งเป็นแทร็กและเซ็กเตอร์เหมือนกับแผ่นดิสก์แต่เซ็กเตอร์ในซีดี รอมจะมีขนาดเท่ากัน ทุกเซ็กเตอร์ ทำให้สามารถเก็บข้อมูลได้มากขึ้นเมื่อไดรฟ์ซีดีรอมเริ่มทำงานมอเตอร์จะเริ่ม หมุนด้วยความเร็ว หลายค่า 

ทั้งนี้เพื่อให้อัตราเร็วในการอ่านข้อมูลจากซีดีรอมคงที่สม่ำเสมอทุกเซ็ก เตอร์ ไม่ว่าจะเป็นเซ็กเตอร์ที่อยู่รอบนอกหรือวงใน จากนั้นแสงเลเซอร์จะฉายลงซีดีรอมโดยลำแสงจะถูกโฟกัสด้วยเลนส์ที่เคลื่อนตำแหน่งได้โดยการทำงานของขดลวดลำแสงเลเซอร์จะทะลุผ่านไปที่ซีดีรอมแล้วถูกสะท้อนกลับ ที่ผิวหน้าของซีดีรอมจะเป็น หลุมเป็นบ่อ ส่วนที่เป็นหลุมลงไปเรียก “แลนด์” 

สำหรับบริเวณที่ไม่มีการเจาะลึกลงไปเรียก “พิต” ผิวสองรูปแบบนี้เราใช้แทนการเก็บข้อมูลในรูปแบบของ 1 และ 0 แสงเมื่อถูกพิตจะกระจายไปไม่สะท้อนกลับแต่เมื่อแสงถูกเลนส์จะสะท้อนกลับผ่านแท่งปริซึม จากนั้นหักเหผ่านแท่งปริซึมไปยังตัวตรวจจับแสงอีกทีทุกๆช่วงของลำแสงที่กระทบตัวตรวจจับแสงจะกำเนิดแรงดันไฟฟ้า หรือเกิด 1 และ 0 ที่ทำให้คอมพิวเตอร์สามารถเข้าใจได้ 

ส่วนการบันทึกข้อมูลลงแผ่นซีดีรอมนั้นต้องใช้แสงเลเซอร์เช่นกัน โดยมีลำแสงเลเซอร์จากหัวบันทึกของเครื่อง บันทึกข้อมูลส่องไปกระทบพื้นผิวหน้าของแผ่น ถ้าส่องไปกระทบบริเวณใดจะทำให้บริเวณนั้นเป็นหลุมขนาดเล็ก บริเวณทีไม่ถูกบันทึกจะมีลักษณะเป็นพื้นเรียบสลับกันไปเรื่อย ๆ ตลอดทั้งแผ่น

        ซีดีรอมไดร์ฟจะอ่านข้อมูลด้วยความเร็วในการหมุนแผ่นที่ไม่คงที่โดยจะอ่านข้อมูลที่อยู่วงนออกของแผ่นซีดีด้วยความเร็วสูงและจะค่อย ๆ ลดความเร็วลงมาเมื่ออ่านข้อมูลที่อยู่วงในสุดส่วนใหญ่  ซีดีรอมไดร์ฟจะอ่านข้อมูลที่อยู่ตรงกลางแผ่นเสียส่วนมาก

 ทำให้ความเร็วเพียงแค่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของความเร็วสูงสุดที่มีเท่านั้น  ดังนั้นซีดีรอมไดร์ฟส่วนใหญ่จึงไม่ค่อยทำงานที่ความเร็ว   สูงสุดของไดร์ฟเท่าใดนักอย่างเช่น ซีดีรอมไดร์ฟความเร็ว  50X  จึงไม่ใช่ความเร็วในการอ่านข้อมูลอย่างต่อเนื่อง แต่จะเป็นความเร็วในการอ่านข้อมูลจากแผ่นซีดีที่อยู่วงนอกสุด หลังจากนั้นค่อย ๆ ลดความเร็วลงมาเมื่ออ่านข้อมูลที่อยู่วงในด้วยความเร็วที่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของไดร์ฟก็จะประมาณ  20-25X  เท่านั้น
       ไดร์ฟที่ใช้สำหรับบันทึกข้อมูลที่เราต้องการลงแผ่นซีดีรอมได้เรียกว่า  ซีดีไรท์เตอร์ไดร์ฟซึ่งสามารถใช้เขียนข้อมูลทุกอย่างที่เราต้องการลงบนแผ่นซีดีอาร์  และแผ่นซีดีอาร์ดับบลิว  ปัจจุบันแผ่นซีดีที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันมี 3  ประเภทได้แก่
       1.   แผ่นซีดีรอม  (CD-ROM)  เป็นแผ่นซีดีแบบอ่านได้อย่างเดียว
       2.  แผ่นซีดีอาร์  (CD-R)  เป็นซีดีแบบเขียนได้  แต่เขียนได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
       3.  แผ่นซีดีอาร์ดับบลิว (CD-RW)  เป็นแผ่นซีดีแบบเขียนซ้ำได้หลายครั้ง





ซีดีรอมทำงานอย่างไร


   ปัจจุบันเครื่องเล่น  CD   และ  DVD   เป็นของที่จำเป็นภายในบ้านไปเสียแล้ว   แผ่นซีดี  หรือ ดีวีดี  ใช้ในการเก็บข้อมูล  เพลง   ภาพยนตร์   ซอฟแวร์   โปรแกรม  และอื่นๆอีกมากมาย   ที่สามารถแปลงเป็นข้อมูลในระบบดิจิตอลได้    เราอาจจะเรียกแผ่นซีดีว่า ตู้เอกสารยุคดิจิตอลก็ย่อมได้  ตู้เอกสารนี้เก็บข้อมูลได้อย่างน่าเชื่อถือทีเดียว
     นิยมเรียกแผ่นซีดีว่า แผ่นคอมแพคดิสก์   ส่วนเครื่องเล่น  เรียกว่า เครื่องเล่นคอมแพคดิสก์    เนื่องจากแผ่นคอมแพคดิสก์ มีราคาถูกแสนถูก   และยังหาง่ายอีกด้วย  จึงมีผู้นิยมใช้อย่างรวดเร็ว    ทั้งมีการก้อปปี้แผ่นจากแผ่นต้นฉบับ ถูกกฎหมายและไม่ถูกบ้าง นับเป็นร้อยๆล้านแผ่น  คงจะมีคนสงสัยว่า แผ่นพวกนี้ใช้เก็บอะไรกันหนักกันหนา   ขอตอบว่า  ข้อมูลทุกชนิดในโลกนี้  ไม่ว่าจะเป็นเสียง   ภาพ   ตัวอักษร หรืออะไรก็แล้วแต่  ที่สามารถแปลงเป็นตัวเลขดิจิตอลได้  ล้วนเก็บลงบนคอมแพคดิสค์ได้ทั้งสิ้น

หลักการทำงานของแผ่นซีดี

   แผ่นซีดีทั่วไปสามารถเก็บข้อมูลได้นาน  74  นาที  มีความจุต่อแผ่น  780  ล้านไบต์  หรือ  780  ล้านตัวอักษร  บนแผ่นซีดี เส้นผ่าศูนย์กลางขนาด  4.8  นิ้ว  (12  เซนติเมตร)   
    แผ่นซีดี ทำด้วยแผ่นพลาสติก  ธรรมดา  มีความหนา  4/100  นิ้ว  หรือ  1.2  มิลลิเมตร   การผลิตแผ่นซีดีมีอยู่หลายประเภท  ถ้าผลิตที่บ้านใช้เครื่องบันทึกแผ่นซีดี แบบ  2000 กว่าบาทมา มีหลักการง่าย ซึ่งเราจะอธิบายกันในโอกาศต่อไป   แต่ที่เราจะพูดกันต่อไปนี้  เป็นการผลิตแผ่นซีดีแบบการค้าที่ผลิตทีจำนวนมากๆ   
    แผ่นแม่แบบ จะถูกบันทึกด้วยเครื่องบันทึก   โดยการเรียงข้อมูลภายในแผ่นเป็นรูปขดวง  ข้อมูลจะมีลักษณะเป็นเนินขึ้นมา (เฉพาะแผ่นต้นแบบ)    เนินเหล่านี้คือข้อมูลทางดิจิตอล  แผ่นแม่แบบจะทำด้วยวัสดุที่แข็งมากเช่น พวกโลหะ    เมื่อนำไปปั๊มลงบนแผ่นพลาสติก ซึ่งเป็นแผ่นลูก  จากเนินบนแผ่นแม่แบบ ก็จะกลายเป็นหลุมบนแผ่นลูก   เมื่อเสร็จขั้นตอนการปั๊มแล้ว  ก็จะเคลือบอลูมิเนียมเป็นฟิลม์บางๆอยู่บนแผ่นพลาสติกอีกที  และเคลือบด้วย Acrylic  อีกชั้นเพื่อกันรอยขีดข่วน

     ข้อมูลบนแผ่นซีดี จะมีรูปร่างขดเป็นวง  โดยเริ่มขดจากภายใน  (ไม่ใช่จุดศูนย์กลาง)  ออกมาภายนอก ที่ไม่ได้เริ่มที่จุดศูนย์กลางก็เพราะจะต้องเจาะเป็นรูไว้  ให้มอเตอร์จับแผ่นและสามารถหมุนแผ่นไปได้    จึงทำให้เนื้อที่การเก็บลดลงจาก  783  ล้านไบต์  เหลือเพียง  700  ล้านไบต์   หรืออาจจะน้อยกว่านั้นก็ได้         ยิ่งพวกการ์ดซีดี  (แผ่นสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากับการ์ด เอทีเอ็ม)   เคยมีขายกันใน  เซเว่นอีเลเว่น   พวกการ์ดพวกนี้จะบันทึกเพลงได้ประมาณ  1  เพลง   เวลาจะฟัง ให้ใส่การ์ดลงไปในช่องเล่นแผ่นซีดี  เหมือนกับการเล่นแผ่นซีดีทุกประการ  ปกติแผ่นการ์ดพวกนี้จะมีความจุประมาณ  2  ล้านไบต์   เพราะมันมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมจึงมีวงได้น้อยกว่าแผ่นวงกลมนั่นเอง
   
     ขนาดของหลุมผู้อ่านคงจะคิดว่า  เป็นหลุมกลมๆ  ขนาดจุ๋มจิ๋มน่ารัก    ซึ่งจริงแล้วยังไม่ถูกต้องนัก   หลุมที่ว่านี้เหมือนสี่เหลี่ยมมากกว่า  มีขนาดความกว้าง  0.5  ไมครอน  แต่ละหลุมห่างกัน  1.6  ไมครอน  (1  ไมครอน  เท่ากับ  หนึ่งในล้านของเมตร)   หลุมนี้มีความลึก   125  นาโนเมตร  (1  นาโนเมตร  เท่ากับ  หนึ่งในพันล้านของเมตร)  รูปบนคือลักษณะของหลุมจริงบนแผ่นซีดี
      เนื่องจากข้อมูลมีลักษณะขดเป็นวง และมีขนาดเล็กมาก  เมื่อนำมายืดออกเป็นเส้นตรง  คุณจะได้เส้นตรงที่ยาวถึง  3.5  ไมล์  หรือ  5  กิโลเมตร

วันจันทร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

3.การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)

3.การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลาย (Power Supply) 



สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย (Switching Power Supply) เป็นแหล่งจ่ายไฟตรงคงค่าแรงดันแบบหนึ่ง และสามารถเปลี่ยนแรงดันไฟจากไปสลับโวลต์สูง ให้เป็นแรงดันไฟตรงค่าต่ำ เพื่อใช้ในงานอิเลคทรอนิกส์ได้เช่นเดียวกันแหล่งจ่ายไฟเชิงเส้น (Linear Power Supply) ถึงแม้เพาเวอร์ซัพพลายทั้งสองแบบจะต้องมีการ ใช้หม้อแปลงในการลดทอนแรงดันสูงให้เป็นแรงดันต่ำเช่นเดียวกัน แต่สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะต้องการใช้หม้อแปลงที่มีขนาดเล็ก และน้ำหนักน้อย

 เมื่อเทียบกับแหล่งจ่ายไฟเชิงเส้น อีกทั้งสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายยังมีประสิทธิภาพสูงกว่าอีกด้วย ในปัจจุบันสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตเราอย่างมาก เครื่องใช้อิเลคทรอนิกส์ขนาดเล็กซึ่งต้องการแหล่งจ่ายไฟที่มีกำลังสูงแต่มี ขนาดเล็ก เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องโทรสาร และ โทรทัศน์ เป็นต้น

สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายโดยทั่วไปมีองค์ประกอบพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน และไม่ซับซ้อนมากนัก หัวใจสำคัญของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะอยู่ที่คอนเวอร์เตอร์ เนื่องจากทำหน้าที่ทั้งลดทอนแรงดันและคงค่าแรงดันเอาต์พุตด้วย องค์ประกอบต่าง ๆ ทำงานตามลำดับดังนี้


แรงดันไฟสลับค่าสูงจะผ่านเข้ามาทางวงจร
RFI ฟิลเตอร์ เพื่อกรองสัญญาณรบกวนและแปลงเป็นไฟตรงค่าสูงด้วยวงจรเรกติไฟเออร์ เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์จะทำงานเป็นเพาเวอร์คอนเวอร์เตอร์โดยการตัดต่อแรงดันเป็นช่วง ๆ ที่ความถี่ประมาณ 20-200 KHz 

 จากนั้นจะผ่านไปยังหม้อแปลงสวิตชิ่งเพื่อลดแรงดันลงเอาต์พุตของหม้อแปลงจะต่อกับวงจรเรียงกระแสและกรองแรงดันให้เรียบการคงค่าแรงดันจะทำได้โดยการป้อนกลับคาแรงดันที่เอาต์พุตกลับมายังวงจรควบคุม เพื่อควบคุมให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์นำกระแสมากขึ้นหรือน้อยลงตามการเปลี่ยน แปลงของแรงดันที่เอาต์พุต ซึ่งจะมีผลทำให้แรงดันเอาต์พุตคงที่ได้ 


1. ไฟกระแสสลับขาเข้า (AC Input) พลังงานไฟฟ้าในส่วนนี้ จะมาจากปลั๊กไฟ โดยที่รู้แล้วว่าไฟที่ใช้กันอยู่จะเป็นไฟฟ้ากระแสสลับที่มีขนาดแรงดัน 220v ความถี่ 50 Hz เมื่อเสียบปลั๊กไฟกระแสไฟฟ้าก็จะวิ่งตามตัวนำเข้ามายังเครื่องใช้ไฟฟ้า

2. ฟิวส์ (Fuse) เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการป้องกันวงจรพาวเวอร์ซัพพลายทั้งหมดให้รอดพ้น อันตราย จากกระแสไฟแรงสูงที่เกิดขึ้นจากการถูกฟ้าผ่า หรือกระแสไฟฟ้าแรงสูงในรูปแบบต่างๆ โดยหากเกิดกระแสไฟฟ้าแรงสูงเกินกว่าที่ฟิวส์จะทนได้ ฟิวส์ตัวนี้ก็จะตัดในทันทีทันใด

3. วงจรกรองแรงดัน วงจรกรองแรงดันนี้จะทำหน้าที่กรองแรงดันไฟไม่ว่าจะเป็นแบบกระแสสลับ หรือกระแสตรงก็ตาม ที่เข้ามาให้มีความบริสุทธิ์จริงๆ เพื่อป้องกันแรงดันไฟที่ผิดปกติเช่นไฟกระชาก ซึ่งจะเป็นผลให้วงจรต่างๆ ในพาวเวอร์ซัพพลายเกิดความเสียหายขึ้นได้

4. ภาคเรคติไฟเออร์ (Rectifier) หลังจากที่ไฟกระแสสลับ 220v ได้วิ่งผ่านฟิวส์ และวงจรกรองแรงดันเรียบร้อยแล้วก็จะตรงมายังภาคเรคติไฟเออร์ โดยหน้าที่ของเจ้าเรคติไฟเออร์ ก็คือ การแปลงไฟกระแสสลับ ให้มาเป็นไฟกระแสตรง ซึ่งก็ประกอบไปด้วย

   • ตัวเก็บประจุ (Capacitor) จะทำหน้าที่ทำปรับให้แรงดันไฟกระแสตรงที่ออกมาจากบริดเรคติไฟเออร์ ให้เป็นไฟกระแสตรงที่เรียบจริงๆ

   • ไดโอดบริดจ์เรคติไฟเออร์ (Bridge Rectifier) ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของตัว IC หรือแบบที่นำไดโอด 4 ตัวมาต่อกันให้เป็นวจรบริดจ์เรคติไฟเออร์

5. วงจรสวิตชิ่ง (Switching) เป็นวงจรที่ใช้ในการทำงานร่วมกับวงจรควบคุม (Contrlo Circuit) เพื่อตรวจสอบว่าควรจะจ่ายแรงดันทั้งหมดให้กับระบบหรือไม่ โดยถ้าวงจรควบคุมส่งสัญญาณมาให้กับวงจรสวิตซิ่งว่าให้ทำงาน ก็จะเริ่มจ่ายแรงดันไฟฟ้าที่ได้จากภาคเรคติไฟเออร์ไปให้กับหม้อแปลงต่อไป

6. หม้อแปลงไฟฟ้า (Transformer) หม้อแปลงที่ใช้ในวงจรสวิตชิ่งซัพพลายจะเป็นหม้อแปลงที่มีหน้าที่ในการแปลงไฟ ที่ได้จากภาคสวิตชิ่ง ซึ่งก็รับแรงดันไฟมาจากภาคเรติไฟเออร์อีกต่อหนึ่ง โดยแรงดันไฟฟ้ากระแสงตรงที่มีค่าแรงดันสูงขนาดประมาณ 300 v ดังนั้นหม้อแปลงตัวนี้ก็จะทำหน้าที่ในการแปลงแรงดันไฟกระแสตรงสูงนี้ให้มี ระดับแรงดันที่ลดต่ำลงมา เพื่อที่จะสามารถใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ก่อนที่จะส่งไปให้วงจรควบคุมแรงดันต่อไป

7. วงจรควบคุมแรงดัน (Voltage Control) เป็นวงจรที่จะกำหนดค่าของแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงที่ได้รับมาจากหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อที่จะให้ได้ระดับแรงดันที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่างๆ โดยค่าของระดับแรงดันไฟฟ้านี้ก็จะมีขนาด 5v และ 12v สำหรับพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดแบบ AT แต่ถ้าเป็นพาวเวอร์ซัพพลายที่ใช้กับเมนบอร์ดที่เป็นแบบ ATX ก็จะต้องมีวงจรควบคุมแรงดันให้ออกมามีขนาด 3.3v เพิ่มอีกหนึ่ง (ซึ่งซีพียูรุ่นเก่าที่ใช้แรงดันไฟขนาด 3.3 v นี้ก็สามารถที่จะดึงแรงดันไฟในส่วนนี้ไปเลี้ยงซีพียูได้เลย)

8. วงจรควบคุม เป็นวงจรที่ใช้ในการควบคุมวงจรสวิตชิ่ง ว่าจะให้ทำการจ่ายแรงดันไปให้กับหม้อแปลงหรือไม่ และแน่นอนว่าในส่วนนี้จะทำงานร่วมกับวงจรลอจิกที่อยู่บนเมนบอร์ด เมื่อวงจรลอจิกส่งสัญญาณกลับมาให้แก่วงจรควบคุม วงจรควบคุมก็จะสั่งการให้วงจรสวิตชิ่งทำงาน


4.การทำงานของแรม (RAM) (Random Access Memory)

4.การทำงานของแรม (RAM) (Random Access Memory)



RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำของระบบ มีหน้าที่รับข้อมูลเพื่อส่งไปให้ CPU ประมวลผลจะต้องมีไฟเข้า Module ของ RAM ตลอดเวลา ซึ่งจะเป็น chip ที่เป็น IC ตัวเล็กๆ ถูก pack อยู่บนแผงวงจร หรือ Circuit Board เป็น module เทคโนโลยีของหน่วยความจำมีหลักการที่แตกแยกกันอย่างชัดเจน 2 เทคโนโลยี คือหน่วยความจำแบบ DDR หรือ Double Data Rate (DDR-SDRAM, DDR-SGRAM) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องมาจากเทคโนโลยีของหน่วยความจำแบบ SDRAM และ SGRAM และอีกหนึ่งคือหน่วยความจำแบบ Rambus ซึ่งเป็นหน่วยความจำที่มีแนวคิดบางส่วนต่างออกไปจากแบบอื่น

SDRAM

          อาจจะกล่าวได้ว่า SDRAM (Synchronous Dynamic Random Access Memory) นั้นเป็น Memory ที่เป็นเทคโนโลยีเก่าไปเสียแล้วสำหรับยุคปัจจุบัน เพราะเป็นการทำงานในช่วง Clock ขาขึ้นเท่านั้น นั้นก็คือ ใน1 รอบสัญญาณนาฬิกา จะทำงาน 1 ครั้ง ใช้ Module แบบ SIMM หรือ Single In-line Memory Module โดยที่ Module ชนิดนี้ จะรองรับ datapath 32 bit โดยทั้งสองด้านของ circuite board จะให้สัญญาณเดียวกัน



DDR - RAM


หน่วยความจำแบบ DDR-SDRAM นี้พัฒนามาจากหน่วยความจำแบบ SDRAM เอเอ็มดีได้ทำการพัฒนาชิปเซตเองและให้บริษัทผู้ผลิตชิปเซตรายใหญ่อย่าง VIA, SiS และ ALi เป็นผู้พัฒนาชิปเซตให้ ปัจจุบันซีพียูของเอเอ็มดีนั้นมีประสิทธิภาพโดยรวมสูงแต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความเสถียรอยู่บ้าง แต่ต่อมาเอเอ็มดีหันมาสนใจกับชิปเซตสำหรับซีพียูมากขึ้น ขณะที่ทางเอเอ็มดีพัฒนาชิปเซตเลือกให้ชิปเซต AMD 760 สนับสนุนการทำงานร่วมกับหน่วยความจำแบบ DDR เพราะหน่วยความจำแบบ DDR นี้ จัดเป็นเทคโนโลยีเปิดที่เกิดจากการร่วมมือกันพัฒนาของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างเอเอ็มดี, ไมครอน, ซัมซุง, VIA, Infineon, ATi, NVIDIA รวมถึงบริษัทผู้ผลิตรายย่อยๆ อีกหลายDDR-SDRAM เป็นหน่วยความจำที่มีบทบาทสำคัญบนการ์ดแสดงผล 3 มิติ

DDR-SDRAM จะมีพื้นฐานเหมือนกับ SDRAM ทั่วไปมีความถี่ของสัญญาณนาฬิกาเท่าเดิม (100 และ 133 เมกะเฮิรตซ์) เพียงแต่ว่า หน่วยความจำแบบ DDR นั้น จะสามารถขนถ่ายข้อมูลได้มากกว่าเดิมเป็น 2 เท่า เนื่องจากมันสามารถขนถ่ายข้อมูลได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของหนึ่งรอบสัญญาณนาฬิกา ในขณะที่หน่วยความจำแบบ SDRAM สามารถขนถ่ายข้อมูลได้เพียงขาขึ้นของรอบสัญญาณนาฬิกาเท่านั้น
ด้วยแนวคิดง่าย ๆ แต่สามารถเพิ่มแบนด์วิดธ์ได้เป็นสองเท่า และอาจจะได้พบกับหน่วยความจำแบบ DDR II ซึ่งก็จะเพิ่มแบนด์วิดธ์ขึ้นไปอีก 2 เท่า จากหน่วยความจำแบบ DDR (หรือเพิ่มแบนด์วิดธ์ไปอีก 4 เท่า เมื่อเทียบกับหน่วยความจำแบบ SDRAM) ซึ่งก็มีความเป็นไปได้สูง เพราะจะว่าไปแล้วก็คล้ายกับกรณีของ AGP ซึ่งพัฒนามาเป็น AGP 2X 4X และ AGP 8X

หน่วยความจำแบบ DDR จะใช้ไฟเพียง 2.5 โวลต์ แทนที่จะเป็น 3.3 โวลต์เหมือนกับ SDRAM ทำให้เหมาะที่จะใช้กับโน้ตบุ๊ก และด้วยการที่พัฒนามาจากพื้นฐานเดียว DDR-SDRAM จะมีความแตกต่างจาก SDRAM อย่างเห็นได้ชัดอยู่หลายจุด เริ่มตั้งแต่มีขาทั้งหมด 184 pin ในขณะที่ SDRAM จะมี 168 pin อีกทั้ง DDR-SDRAM ยังมีรูระหว่าง pin เพียงรูเดียว ในขณะที่ SDRAM จะมี 2 รู ซึ่งนั่นก็เท่ากับว่า DDR-SDRAM นั้น ไม่สามารถใส่ใน DIMM ของ SDRAM ได้ หรือต้องมี DIMM เฉพาะใช้ร่วมกันไม่ได้

5.การทำงานของฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)

  5.การทำงานของ ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) 

 

 

            เป็น อุปกรณ์เก็บบันทึกข้อมูลที่มีโครงสร้างคล้ายกับดิสเก็ตต์ แต่จุข้อมูลมากกว่าและมีความเร็วในการเข้าถึงข้อมูลสูงกว่า ส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งอยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้สำหรับเก็บตัว โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ( operating system ) รวมถึงโปรแกรมประยุกต์อื่น ๆ ฮาร์ดดิสก์ ผลิตมาจากวัสดุแบบแข็งจำนวนหลายแผ่นวางเรียงต่อกันเป็นชั้น จานแม่เหล็กแต่ละจาน เรียกว่า แพลตเตอร์ ( platter ) ซึ่งอาจจะมีจำนวนต่างกันได้ในฮาร์ดดิสก์แต่ละรุ่น
โครงสร้างฮาร์ดดิสก์โดยทั่วไปมีส่วนประกอบดังนี้
             
ชื่อส่วนประกอบ
คำอธิบาย
platter
 
track
sector
cylinder
read/write head
ส่วนของจานแม่เหล็กแต่ละจานบนฮาร์ดดิสก์ซึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองด้าน
พื้นที่ตามแนวเส้นรอบวงบนแพลตเตอร์นั้น
ส่วนของแทรคที่แบ่งย่อยออกเป็นท่อนเหมือนกับดิสเก็ตต์
แทรกที่อยู่ตรงกันของแต่ละแพลตเตอร์ (แต่ละจาน)
หัวสำหรับอ่าน/เขียนข้อมูลบนแพลตเตอร์
           

  



    
โครงสร้างของฮาร์ดดิสก์
          การทำงานของฮาร์ดดิสก์นั้น ตัวแผ่นจานจะหมุนเร็วมาก (หลายพันถึงกว่าหมื่นรอบ ต่อนาที) โดยที่หัวอ่าน/เขียน ซึ่งเป็นอุปกรณ์แม่เหล็กจะลอยเหนือแผ่นแพลตเตอร์ทั้งสองด้านในระยะห่างที่ เล็กกว่าขนาดของเส้นผมมนุษย์ การทำงานจะอาศัยการส่งกระแสไฟฟ้าเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสนามแม่เหล็ก โดยที่หัวอ่าน/เขียน จะไม่มีโอกาสสัมผัสกับผิวของแพลตเตอร์แต่อย่างใด เพื่อป้องกันการกระทบกับผิวของแพลตเตอร์ 

ซึ่งจะทำให้ข้อมูลบนแผ่นเสียหายได้ปัจจุบันมีผู้ผลิตฮาร์ดดิสก์ออกมาจำหน่าย หลายยี่ห้อด้วยกัน ซึ่งแต่เดิมมีความจุไม่มากเท่าไร แต่ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีการผลิตที่ดีกว่าเดิม ทำให้การจัดเก็บข้อมูลของฮาร์ดดิสก์มีขนาดความจุที่มากขึ้นในระดับหลายร้อย กิกะไบต์ (ซึ่งมากกว่าฟล็อปปี้ดิสก์นับแสนเท่า) และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นอีก

 ซึ่งสามารถรองรับการเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือไฟล์ประเภทมัลติมีเดียต่าง ๆ เช่น ไฟล์ภาพยนตร์ วิดีโอ เสียงเพลง ภาพกราฟิก ได้อย่างเพียงพอการเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์มาใช้งาน อาจไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงความจุข้อมูลที่มากเกินความจำเป็นก็ได้ แต่ควรคำนึงถึงรูปแบบการทำงานเป็นหลักว่า มีความต้องการบันทึกข้อมูลประเภทใด และฮาร์ดดิสก์ที่ใช้อยู่นั้นเพียงพอหรือไม่ ซึ่งหากไม่พอก็สามารถหาหรือเลือกซื้อฮาร์ดดิสก์แบบถอดได้มาเพิ่มเติม           สรุปข้อแตกต่างระหว่างดิสเก็ตต์และฮาร์ดดิสก์    
   
คุณสมบัติ
ดิสเก็ตต์
ฮาร์ดดิสก์
ความจุข้อมูล
เก็บข้อมูลได้น้อย เนื่องจากกลไกอ่านเขียนก็มีความแม่นยำไม่สูงนัก ทั้งที่พื้นที่ไม่จากฮาร์ดดิสก์มากนัก ทำให้แบ่งแทรคและ
เซกเตอร์ได้ไม่ละเอียด
เก็บ ข้อมูลได้มาก และกลไกที่อ่านเขียนก็จะมีความแม่นยำสูงมาก และใช้การเข้ารหัสสัญญาณที่ซับซ้อน ทำให้จัดแบ่งแทรคและเซกเตอร์ที่จะใช้เก็บบันทึกข้อมูลได้มาก
ราคา
ค่อนข้างถูก เพราะผลิตจำวัสดุพลาสติกชนิดอ่อนและกลไกก็มีความเร็วต่ำ ซึ่งจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่า อีกทั้งตัวแผ่นยังถอดเปลี่ยนได้
ค่อนข้างสูง เพราะอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตประกอบด้วยวัสดุเหล็กชนิดแข็ง และกลไกอื่น ๆ ก็เป็นแบบความเร็วสูงตามไปด้วย
หัวอ่านข้อมูล
สัมผัสกับแผ่นจานทุกครั้งที่อ่านหรือเขียนข้อมูลลงบนแผ่น จึงมีความสึกหรอมากกว่าทั้งแผ่นและหัวอ่าน
ไม่สัมผัสกับแผ่นจาน จึงไม่สึกหรอเท่ากับดิสเก็ตต์แต่จะลอยอยู่เหนือแผ่นจาน โดยมีช่วงห่างที่เล็กมากจนแทบมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
การเข้าถึงข้อมูล
ทำได้ช้า
หัวอ่านทำงานเร็ว และแผ่นก็หมุนเร็วมาก ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า

 

6.การทำงานของแป้นพิมพ์ (Keyboard)

6.การทำงานของแป้นพิมพ์ (Keyboard)



แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลเพื่อสั่งให้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดำเนินการและแสดงผลออกทางจอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้าย ๆ กับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด กล่าวคือ มีแต่ละแป้นพิมพ์ตัวอักษรแถวบนหรือแถวล่างได้ แต่แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประมาณ 101-104 แป้น แป้นพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นมาทำหน้าที่ต่าง ๆกัน

แบ่งกลุ่มแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ


        กลุ่มแป้นพิมพ์ที่ใช้พิมพ์หรือเครื่องหมาย มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษหรือเรียกว่าแป้นตัวอักษร กล่าวคือ พิมพ์ตัวอักษร ก - ฮ และพิมพ์ตัวอักษร A - Z
        กลุ่มแป้นพิมพ์ที่ใช้แสดงหน้าที่พิเศษ หรืออาจเรียกว่า เป็นกลุ่ม Function Key มีตัวอักษร F1 - F12 กำกับ สำหรับเขียนแทนด้วยคำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่กับโปรแกรม
        กลุ่มแป้นพิมพ์ทีใช้พิมพ์จำนวนเลข หรือเรียกว่า Numeric Key พิมพ์เลข 1 - 0 และเครื่องหมาย + -
                            นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแป้นพิมพ์ที่มีไว้เพื่อเป็นแป้นพิมพ์คำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ได้แก่
                                Enter เป็นแป้นที่กดเพื่อให้คอมพิวเตอร์รับคำสั่งไปปฏิบัติตามที่ต้องการ แป้นนี้เดิมชื่อ Carriage Return เปลี่ยนมาเป็น Enter ในยุคของเครื่องพีซี มีทั้งในแป้นตัวอักษรและแป้นตัวเลข ใช้ได้กับกดเพื่อขึ้นบรรทัดใหม่
                                Escape กดเพื่อยกเลิกการทำงานเดิมหรือจบการเล่นเกม การกดแป้นจะยกเลิกคำสั่งที่กำลังใช้งานย้อนกลับไปที่คำสั่งก่อนหน้า
                                Tiled สำหรับกดเปลี่ยนไปมาระหว่าภาษาไทยกับกาษาอังกฤษ
                                Caps Lock สำหรับยกแคร่ค้างไว้เพื่อพิมพ์อักษรแบบตัวพิมพ์ใหญ่ เมื่อกดแป้นนี้ ไฟบอกสภาวะ ทางขวามือจะติด ดังนั้น ถ้าการพิมพ์อักษรมีปัญหา ให้ดูว่าแป้นนี้ถูกกดค้างไว้หรือไม่

                                Shift แป้นยกแคร่ กดค้างไว้แล้วพิมพ์ ถ้าแป้นพิมพ์อักษรที่มีสองตัวบนล่างกดแป้นนี้เพื่อพิมพ์ตัวอักษรบน ถ้าเป็นอักษรภาษาอังกฤษที่มีตัวเดียว กดเพื่อพิมพ์เป็นตัวพิมพ์ใหญ่

                                Ctrl แป้นควบคุมกดค้างไว้แล้วกดอักษรตัวอื่นเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น Ctrl+Alt+Delete เป็นการรีเซ็ทเครื่องใหม่, Ctrl + B ทำตัวอักษรหนา เป็นต้น
                                 Tab ใช้กด เพื่อเลื่อน 1 ย่อหน้า
                              Space bar ใช้กดเพื่อเว้นวรรค
                                Alternate กดคู่กับแป้นอื่น ๆ เพื่อทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น Alt+X คือจบเกม Ctrl + Alt + Delete         รีเซ็ทเครื่องเหมือนการกดปุ่ม Reset
                Backspace แป้นเลื่อนถอยหลัง กดเพื่อย้อนกลับไปทางซ้ายสำหรับพิมพ์ และลบตัวอักษรทางซ้ายทีเลื่อนไปแป้นควบคุม เป็นแป้นลูกศรชี้ไปทางซ้าย ขวา บน ล่าง สำหรับควบคุมการเลื่อนตำแหน่งไปมาบนจอภาพ
                Insert แทรกอักษร กดเพื่อกำหนดสภาวะพิมพ์แทรก หรือพิมพ์ทับ การทำงานปกติเป็นการพิมพ์แทรก
                Delete กดเพื่อลบอักษรที่ Cursor ทับอยู่ หรือลบตัวที่อยู่ทางขวาของจุดแทรก (Cursor) เมื่อลบแล้วจะดึงอักษรทางขวามือมาแทนที่
                                Home กดเพื่อเลื่อนการทำงานไปยังตำแหน่งแรกของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่
                                 End กดเพื่อกระโดดไปยังอักษรตัวสุดท้ายทางขวาของบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานอยู่
                                 Page Up กดเพื่อเลื่อนจอภาพขึ้นไปดูข้อความด้านบน
                                 Page Down กดเพื่อจอภาพลงไปด้านล่าง
                                 Num Lock กดเพื่อใช้แป้นตัวเลขทางขวา เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด ถ้าไม่เปิด แป้น Num Lock เป็นการใช้แป้นอักขระตัวล่างที่อยู่ในแป้นตัวเลข
                                 Print Screen กดเพื่อพิมพ์ข้อความที่เห็นบนจอภาพออกทางเครื่องพิมพ์
                                 Scroll Lock กดเพื่อล็อกบรรทัดที่กำลังพิมพ์งานไม่ให้เลื่อนบรรทัด ถึงแม้จะกดแป้น Enter ก็ไม่มีผล เมื่อกดแล้วไฟบอกสภาวะจะติด
                                Break หรือ Pause กดเพื่อหยุดการทำงานชั่วคราวยกเลิกโดยกดแป้นอื่น ๆ อีกครั้ง
แป้นคำสั่งคำนวณ
                                 ^  Caret อยู่เหนือเลข 6 ต้องกดปุ่ม Shitf ค้างไว้แล้วพิมพ์ หมายถึงการยกกำลัง
                *  Asterisk หมายถึง การคูณ ใช้เครื่องหมายนี้เพื่อให้แตกต่างกับอักษร x
                                  /  Slash หมายถึง การหาร ถ้าไม่ใช่การคำนวณ หมายถึงขีดทับ ต้องใส่สัญลักษณ์นำเพื่อให้ คอมพิวเตอร์รับเป็นค่าตัวอักษรในโปรแกรมตารางคำนวณ
แป้นอื่น ๆ
                                 @  At sign เครื่องหมาย at หมายถึง จำนวนหน่วยทางบัญชี และเป็นตัวกำหนดตำแหน่งสำหรับเขียนโปรแกรมในโปรแกรมตระกูลฐานข้อมูลต่าง ๆ
                                 # Number sign เครื่องหมายนัมเบอร์สำหรับกำกับตัวเลขบอกลำดับที่ทางคณิตศาสตร์ หมายถึงไม่ทับ
                                & Dollar sign เครื่องหมายเงินดอลลาร์ หรือ เป็น String สำหรับควบคุมตัวแปรประเภทตัวอักษรในภาษาเบสิก
                                & Ampersand เครื่องหมายเชื่อมคำ เช่น A&B 



การทำงานของคีย์บอร์ดจะเกิดจากการเปลี่ยนกลไกการกดปุ่มให้เป็นสัญญาณทางไฟฟ้าส่งให้คอมพิวเตอร์โดยสัญญาณดังกล่าว จะบอกให้คอมพิวเตอร์ทราบว่ามีการกดคีย์อะไร การทำงานทั้งหมดจะถูกควบคุมด้วยไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ขนาดเล็กที่บรรจุในคีย์บอร์ดและสัญญาณต่าง ๆ จะส่งผ่านสายสัญญาณผ่านทางขั้วต่อของแป้นพิมพ์ แบ่งได้ 4 ประเภท คือ
1. 5-pin DIN (Deustche Industrie Norm) connector  เป็นขั้วต่อขนาดใหญ่ ใช้กับคอมพิวเตอร์ในรุ่นแรก


2. 6-pin IBM PS/2 mini-DIN connector  เป็นขั้วต่อขนาดเล็ก ปัจจุบันพบได้อย่างแพร่หลาย




3. 4-pin USB (Universal Serial Bus) connector  เป็นขั้วต่อรุ่นใหม่


4. internal connector เป็นขั้วต่อแบบภายใน พบได้ใน Notebook Computer

7.การทำงานของเมาส์ (Mouse)

7.การทำงานของเมาส์
เมาส์ลูกกลิ้ง

ส่วนประกอบภายใจของเมาส์โดยทั่วไปจะเป็นลูกบอลยางทรงกลม ซึ่งทำมาจากลูกเหล็กและหุ้มยางเอาไว้ เพื่อให้ลูกบอลยางมีน้ำหนักและติดหนึบกับแผ่นรองเมาส์ นอกจากนั้นยังมีลูกกลิ้งทรงกระบอก 2 อัน วางตัวในแนวตั้งฉากกัน สำหรับใช้ในการระบุทิศทางและตำแหน่งการเคลื่อนที่ในแนว ซ้าย-ขวา บน-ล่าง (แกน X , Y) ที่ปลายของลูกกลิ้งทั้งสองจะมีแผ่นพลาสติกสีดำลักษณะเป็นแผ่นวงกลมแบนบาง เจาะช่องสี่เหลี่ยมหลายช่องตามแนวรัศมีของวงกลมและมีอุปกรณ์ตรวจจับแสง (photo detector) ติดกับอุปกรณ์ตรวจจับแสงจะประกอบด้วย LED จะมีสวิตซ์ของปุ่มคลิกเมาส์และแผงวงจรควบคุมไมโครคอนโทรเลอร์(Micro controller) ซึ่งจะทำหน้าที่รับสัญญาณจากสวิตซ์และอุปกรณ์รับแสงเพื่อแปลงเป็นสัญญาณ ข้อมูลสำหรับอินเทอร์เฟส (Interface) กับคอมพิวเตอร์

การทำงานของเมาส์ คือ การเลื่อนเมาส์ ลูกบอลยางก็จะหมุนกลิ้งไปตามทิศทางของเมาส์ที่เลื่อนไปซึ่งการหมุนของลูกบอล ยางจะมีผลให้ลูกกลิ้งหมุนตามได้ด้วยในแนวแกน (X , Y) ซึ่งการหมุนของลูกกลิ้งก็จะส่งผลให้แผ่นพลาสติกกลมที่ปลายหมุนตามไปด้วยเช่น กัน การหมุนของแผ่นพลาสติกทำให้แสงจาก LED ที่อุปกรณ์รับแสงได้รับแตกต่างกันไปตามมุมองศาของการหมุนตัวรับแสงก็จะส่งสัญญาณที่แตกต่างกันไปให้กับไมโครคอนโทรลเลอร์ (Micro controller) 

ทำให้รู้ได้ว่าขณะนี้มีการเคลื่อนตำแหน่งของเมาส์ไปในทิศทางและระยะทาง เท่าใด(สหัสญา บุญสวัสดิ์ 2543 : 68-69)
เมาส์ประกอบด้วย ลูกกลิ้งที่ติดตั้งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มกดควบคุม (ตั้งแต่ 1 - 3 ปุ่ม) การใช้เมาส์จะนำเมาส์วางไว้บนพื้นราบ และเลื่อนเมาส์ไปในทิศทางที่ต้องการ บนจอภาพจะปรากฏ สัญลักษณ์ชี้ตำแหน่ง เรียกว่า "Mouse Pointer" (มักจะเป็นรูปลูกศรเฉียงซ้าย) เมื่อต้องการจะทำงานใดๆ ก็ทำการกดปุ่มเมาส์ ตามหลักการใช้เมาส์ คอมพิวเตอร์จะรับสัญญาณ และทำการประมวลผลต่อไป (keyboard) (ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ 2549)

 Optical Mouse

เมาส์แบบใช้แสง เป็นเมาส์ที่พัฒนามาจากเมาส์ลูกกลิ้ง ซึ่งเมาส์ลูกกลิ้งมีจุดด้อยอยู่ตรงที่มีขีดจำกัดในการทำงานที่ต้องใช้งานบน พื้ผิวที่เรียบ และความรวดเร็วในการใช้งานที่ช้า อีกทั้งยังมีความละเอียดต่ำ ทำให้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นเมาส์แบบใช้แสง
            การการทำงานของเมาส์ประเภทนี้ อาศัยหลักการส่งแสงจากเมาส์ลงไปบนแผ่นรองเมาส์ชนิดพิเศษ ซึ่งมีผิวมันสะท้อนแสง และเป็นตารางตามแนวแกน และ Y โดยแกนหนึ่งเป็นสีน้ำเงิน อีกแกนเป็นสีดำ ตัดกันไว้คอยตรวจจับการเคลื่อนที่ ซึ่งบนเมาส์ จะมี LED 2 ตัวให้กำเนิดแสงออกมา 2 สี คือ สีดำและสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีดำจะดูดกลืนแสงสีน้ำเงิน LED ที่กำเนิดแสงสีน้ำเงิน จะดูดกลืนแสงสีดำ ซึ่งตัวตรวจจับแสงเป็นทรานซิสเตอร์ไวแสง สีที่ตรวจจับได้จะบอกทิศทาง ส่วนช่วงของแสงที่หายไปจะบอกถึงระยะทางการเคลื่อนที่

      ข้อดีของเมาส์ประเภทนี้ คือ ทำให้ตัดปัญหาการเคลื่อนที่ที่ไม่คล่องตัวของเมาส์ อันเนื่องจากมีฝุ่นผงเกาะติดลูกบอลยางมากต้องถอดออกมาทำความสะอาดลูกบอลยาง บ่อยๆ ดังนั้นเมาส์ประเภทนี้จึงสามารถเคลื่อนที่ได้อย่างสะดวก มีความถูกต้องของตำแหน่งที่ต้องการให้เคลื่อนที่ไปสูง และสามารถจะเคลื่อนเมาส์บนวัสดุอะไรก็ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้แผ่นรอง
 Wireless mouse


เมาส์ ไร้สายเป็นเมาส์ที่ทำงานด้วยกลไกแบบลูกกลิ้งหรือแบบแสงก็ได้ เพียงแต่ไม่มีสายต่อเท่านั้น เพราะจะใช้การส่งสัญญาณผ่านตัวรับไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์แทนที่จะผ่านทาง สายโดยตรง ซึ่งการพัฒนาเมาส์ไร้สายในช่วงแรกจะอาศัยเทคโนโลยีอินฟราเรดแต่ต่อมามีการพัฒนาไปใช้เทคโนโลยีคลื่นวิทยุ 

ทั้งนี้เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีอินฟราเรดนั้นมีข้อจำกัดในเรื่องการส่งรับ สัญญาณ เครื่องส่งและเครื่องรับจะต้องอยู่ในแนวทิศทางเดียวกันและห้ามมีอุปกรณ์ใดๆ ขวางแนวการรับ-ส่งของคลื่น โดยเด็ดขาด แต่สำหรับเมาส์ที่ใช้เทคโนโลยีความถี่คลื่นวิทยุนี้จะไม่มีปัญหาในเรื่องดัง กล่าว ทำให้การใช้งานเมาส์มีความสะดวกมากขึ้นและใช้งานได้ในรัศมีความสะดวกมากขึ้น และใช้งานได้ในรัศมีที่กว้างขึ้น เนื่องจากคลื่นวิทยุสามารถทะลุผ่านอุปกรณ์กีดขวางใดๆ ได้ แต่จะต้องมีการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณเพิ่มเติมที่เครื่องคอมพิวเตอร์ 
 Laser  Mouse





                                                

      เมาส์เลเซอร์ เกิดจากการคิดค้นและพัฒนาของ Logitech ซึ่งถือได้ ว่าเป็นเจ้าแรก ที่ผลิตเมาส์เลเซอร์ออกมา จุดน่าสนใจของเมาส์เลเซอร์อย่างแรกคือ ความแม่นยำ และการตอบสนองความต้องการของเมาส์ขณะทำงานที่ทำได้เร็วกว่าเมาส์แบบใช้แสง เพราะเมาส์แบบใช้แสง ใช้หลอด LED เป็นตัวปล่อยแสง ซึ่งแสงที่ได้จากหลอด LED นั้นเป็นเพียงหลอดไฟหลอดหนึ่งเท่านั้นการเดินทางของแสง ความแม่นยำ ความรวดเร็วในการทำงานย่อมด้อยกว่าเมาส์เลเซอร์ ที่ใช้แสงเลเซอร์เป็นตัวรับ-ส่งข้อมูลแทนแสงจากหลอด LED ข้อดีอีกข้อหนึ่งของเมาส์เลเซอร์ คือ การใช้งานบนพื้นผิวที่มีความมัน หรือไม่เรียบ พื้นไม้ ปกหนังสือ หน้าปกนิตยสาร ได้ค่อนข้างดี สะดวกกว่าเมาส์ออปติคพอสมควร แต่ข้อเสียของเมาส์ตระกูลที่ใช้แสงไม่ว่าจะเป็นเมาส์เลเซอร์ หรือเมาส์ออปติค คือ ไม่สามารถใช้งานบนพื้นผิวที่สามารถสะท้อนแสงได้

Blue Track Mouse


เมาส์บลู แทร็ค เมาส์รุ่นใหม่ล่าสุดพัฒนาโดย Microsoft ซึ่งขณะนี้ถือเป็นเทคโนโลยีการผลิตเมาส์ที่ทันสมัยที่สุดใน โลก ซึ่งคุณสมบัติของเทคโนโลยีนี้ใช้ลำแสงสีน้ำเงินแทนการใช้แสงสีแดงที่ใช้ใน เมาส์เลเซอร์ทั่วๆ ไป สามารถทำให้เมาส์ใช้งานได้บนทุกๆ พื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นบนพรม ไม้ หรือพื้นผิวขรุขระก็ตาม และในเมาส์ปกตินั้นจะมีการส่งลำแสงเลเซอร์ออกมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อวางบนพื้นผิวที่สกปรกหรือมีฝุ่น ก็จะขัดขวางการส่งสัญญาณข้อมูล ทำให้การทำงานผิดพลาดได้ง่าย แต่การส่งลำแสงเลเซอร์ของเมาส์บลูแทร็คนี้ เป็นแบบไม่ต่อเนื่อง ดังนั้น มันจึงไม่อ่อนไหวต่อพื้นผิวที่มีฝุ่น และสามารถส่งข้อมูลได้อย่างมีคุณภาพ